Page 83 -
P. 83

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                       ที่สุด แต่อยู่ห่างไกลเกินกว่าขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างจํากัดในการจัดการกับปัญหาใน

                       สถานการณ์ที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่”
                              สําหรับการจัดลําดับความสําคัญก่อน-หลังตามแนวทางของฮิวรีสติกส์จะใช้เกณฑ์การ

                       ตัดสินใจง่ายๆในการพิจารณาลําดับความสําคัญเร่งด่วนของแต่ละงานที่สัมพันธ์กับทรัพยากรที่

                       พร้อมอยู่ในขณะนั้น เกณฑ์ต่างๆเหล่านี้จะเลือกงานที่จะถูกออกใบสั่งเข้าสู่โรงงานซึ่งแนวทางของ
                       ฮิวรีสติกจะใช้เกณฑ์หลายๆเกณฑ์ แล้วเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการมากที่สุด ตาม

                       แนวทางของฮิวรีสติกส์มักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีแต่อาจจะไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

                              สําหรับเกณฑ์ที่จะนําเสนอต่อไปนี้ เป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้โดยทั่วๆไป แต่อาจจะมีหลากหลาย

                       รูปแบบในการประยุกต์ใช้และการผสมรวมของวิธีการเหล่านี้ รายการที่แสดงในตารางที่ 4.1  ให้
                       ภาพรวมที่ดีของเกณ์พื้นฐานในการจัดลําดับก่อนหลังพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของแต่ละเกณฑ์



                        ตารางที่ 4.1 เกณฑ์การตัดสินใจจัดลําดับความสําคัญที่ใช้กันทั่วไป

                             เกณฑ์                                   วัตถุประสงค์
                       1. มาก่อนทําก่อน(First   ดําเนินการจัดลําดับให้กับงานที่เข้ามายังหน่วยผลิตก่อน เกณฑ์ดังกล่าวนี้จะมีความ
                       Come , First Served -   เหมาะสมเป็นพิเศษกับงานบริการซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะต้องการและปรารถนาจะ

                       FCFS)               ให้งานบริการแล้วเสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


                       2. เวลาผลิตสั้นที่สุด  ดําเนินการจัดลําดับให้กับงานที่มีเวลาปฏิบัติงานน้อยที่สุดก่อน โดยปกติเกณฑ์
                       (Shortest Processing   ดังกล่าวนี้จะส่งผลให้งานระหว่างผลิตน้อยที่สุด เวลาเฉลี่ยในการแล้วเสร็จของงาน
                       time or Shortest    น้อยที่สุด(ช่วงเวลานําการผลิต) และ ความล่าช้าของงานโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด(Job
                       Operation time – SPT ,   lateness) ถ้าหากว่าเกณฑ์ดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกนําไปใช้ร่วมกับเกณฑ์วันกําหนดส่ง

                       SOT)                หรือ เวลาเหลือ งานที่มีเวลาผลิตยาวสามารถถูกจัดให้สายแบบสุดๆ
                       3.เวลาผลิตรวมของงาน  ดําเนินการจัดลําดับงานให้กับใบสั่งงานที่มีเวลาผลิตรวมเหลือน้อยที่สุด หลักสําคัญ

                       เหลือที่น้อยที่สุด  ของเกณฑ์ดังกล่าวก็คล้อยๆกับเกณฑ์ที่ 2 กล่าวคือสามารถจะทําให้บรรลุ
                       (shortest total     ความสําเร็จตามวัตุประสงค์ทีคล้ายๆกัน เมื่องานส่วนใหญ่มีกระบวนการที่
                       processing time     เหมือนกัน

                       Remaining-STPT)
                       4. งานที่มีเวลาผลิตเหลือ ดําเนินการจัดลําดับงานให้กับใบสั่งงานที่มีเวลาผลิตรวมเหลือมากที่สุดก่อน เกณฑ์

                       มากที่สุด(Most work   ดังกล่าวนี้ตรงข้ามกับเกณฑ์ที่ 3 เป็นเกณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ให้แต่ละงานเสร็จเร็ว
                       remaining-MWKR)     ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือมีแนวโน้มจะทําให้ช่วงกว้างของการทํางานทั้งหมดสั้น
                       5. วันกําหนดส่งเร็วที่สุด ดําเนินการจัดลําดับงานให้กับใบสั่งงานที่มีวันกําหนดส่งเร็วที่สุดก่อน เกณฑ์นี้จะ

                       ทําก่อน(Earliest due   ใช้งานได้ดีกรณีที่แต่ละงานมีเวลาผลิตโดยประมาณที่เหมือนๆกัน ในกรณีที่ทําการ
                       date - EDD)         ผลิตบนหน่วยผลิตหน่วยเดียว จะส่งผลให้ระดับบริการลูกค้าดีกว่า เมื่อวัดจาก เวลา

                                           สายสูงสุด(Maximum Tardiness) ที่ตํ่ากว่า และเวลาเฉลี่ยส่งงานไม่ทันกําหนด
                                           (Mean Tardiness) ที่น้อยกว่า
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88