Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาจจะเป็นเหตุให้สภาพคอขวดเคลื่อนย้ายไป
จากหน่วยผลิตหนึ่งไปยังหน่วยผลิตอื่นๆ
6. ความพร้อมด้านทรัพยากรการผลิต ตั้งแต่ วัสดุ พนักงาน และเครื่องมือ จะต้องมีการ
ประสานงานกับการวางแผนใบสั่งงาน
7. ปริมาณของวัสดุในงานระหว่างผลิตมีแนวโน้มค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกระบวนการ
ผลิตแบบไหลเนื่องจากมีแถวคอยและใช้เวลาในกระบวนการผลิตนาน
8. การใช้เทคนิคการจัดตารางการผลิตแบบดั่งเดิม เวลาในการดําเนินงานผลิตรวมนับตั้งแต่
การเริ่มต้นของขั้นตอนการผลิตแรกไปจนสิ้นสุดของขั้นตอนสุดท้าย ค่อนข้างจะยาวเมื่อ
เทียบกับ เวลารวมที่ทํางานจริง ใบสั่งงานแต่ละใบมักจะใช้เวลาเกือบ 95 เปอร์เซ็นต์หรือ
มากกว่าในโรงงานเพื่อการรอคอยในการเคลื่อนย้ายไปยังหน่วยผลิตถัดไป หรือรอคอย
การผลิต ที่หน้าหน่วยผลิต
9. พนักงานแรงงานทางตรงโดยปกติจะได้รับการอบรมสูงกว่าและมีฝีมือสูงกว่าพนักงาน
ที่ปฏิบัติงานในสายการผลิตแบบไหล
การดําเนินการผลิตนแบบตามสั่งจะคล้ายกับการดําเนินการผลิตไหลแบบรุ่นการผลิต
หรือแบบเป็นช่วงๆโดยคุณลักษณะของรุ่นการผลิต แต่ก็จะแตกต่างกับกระบวนการผลิตไหลแบบ
เป็นช่วงที่รุ่นและขนาดรุ่นการผลิตจะถูกพิจารณาจากข้อจํากัดของเวลาเตรียมการผลิต และปริมาณ
ความต้องการ ขนาดรุ่นการผลิตในกระบวนการแบบตามสั่งมักจะเป็นไปตามปริมาณที่กําหนดไว้ใน
ใบสั่ง ด้วยเหตุนี้ขนาดรุ่น เล็กหรือใหญ่จึงเหมือนกันมาก หรือในบางกรณีผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน
อาจจะถูกทําการผลิตควบคู่กันไป ตามใบสั่งงาน
กระบวนการผลิตตามสั่งขนาดใหญ่จะมีคุณลักษณะที่คล้อยกันมากกับการผลิตแบบไหล
ซํ้าๆ หรือ การผลิตไหลแบบรุ่นการผลิตเป็นช่วงๆ มีต้นทุนการเตรียมการผลิตสูงทําให้สัดส่วนของ
รุ่นการผลิตมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องมีพนักงานและอุปกรณ์ชนิดพิเศษ อีก
ทางเลือกหนึ่งเป็นการดําเนินการผลิตแบบตามสั่งขนาดเล็ก ซึ่งจะทําการผลิตอะไรก็ตามตั้งแต่ สิบ
จนถึงหลายร้อยหน่วยต่อการเตรียมการผลิตหนึ่งครั้ง ด้วยเหตุนี้การผลิตแบบตามสั่งจึงต้องพึงพา
แรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูงและมีต้นทุนที่ตํ่ากว่า เครื่องจักรเป็นแบบอเนกประสงค์และยืดหยุ่น การ
ผลิตในธุรกิจเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการผลิตแบบตามสั่งขนาดเล็ก งานมักจะ
ถูกเสนอราคาในเทอมของต้นทุนเตรียมการผลิตแล้วหลังจากนั้นจึงค่อยคิดเพิ่มต้นทุนต่อหน่วย ต่อ
ร้อย หรือ ต่อพันของการผลิต