Page 133 -
P. 133

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       129






                               การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดอาจเกิดขึ้นไดทั้งในและนอกบริเวณอินเวอรชัน ลูป การ

                     แลกเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นไดหลายแหงและอาจเกี่ยวของกับโครมาติดที่ตางเสนกัน (รูปที่ 12.5) เชน การ

                     แลกเปลี่ยนในจุดที่ 1 อาจเกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่ 2 และ 4 จุดที่ 2 เกิดขึ้นระหวางโครมาติด
                     เสนที่ 1 และ 4 จุดที่ 3 เกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่ 2 และ 3 จุดที่ 4 เกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่

                     1 และ 3 การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดตั้งแตจุดที่ 1 จนถึงจุดที่ 3 เกิดขึ้นภายในอินเวอรชัน ลูป

                     ในขณะที่จุดที่ 4 เกิดขึ้นระหวางเซนโตรเมียรกับอินเวอรชัน ลูป














                     รูปที่ 12.5  การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดที่เกิดขึ้นที่จุดตาง ๆ ทั้งในและนอกบริเวณอินเวอรชัน ลูป

                               จุดที่ 1 เกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่ 2 และ 4 จุดที่ 2 เกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่ 1

                               และ 4 จุดที่ 3 เกิดขึ้นระหวางโครมาติดเสนที่ 2 และ 3 จุดที่ 4 เกิดขึ้นระหวางโครมาติด
                               เสนที่ 1 และ 3



                               ถาการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นเฉพาะที่จุดแรก   ในระยะอะนาเฟสจะพบสะพานโครมาติดที่มี
                     เซนโตรเมียร  2  อัน  และชิ้นสวนโครโมโซมที่ไมมีเซนโตรเมียร  (รูปที่  12.6)  อยางไรก็ตามชิ้นสวน

                     โครโมโซมที่ไมมีเซนโตรเมียรมักจะสูญหายไปไมถายทอดไปยังเซลลลูก สวนสะพานโครมาติดนั้นมี

                     ชิ้นสวนโครโมโซม AB เพิ่มขึ้นมาแตชิ้นสวน HI ขาดหายไป เมื่อสิ้นสุดระยะอะนาเฟส I สะพานโคร
                     มาติดจะขาดจากกันที่จุดใดก็ได   เนื่องจากการหดตัวของสายใยสปนเดิลที่ยึดอยูกับเซนโตรเมียรทั้ง

                     สอง สมมุติวา จุดที่ขาดจากกัน (BP) อยูระหวาง E และ F เมื่อสิ้นสุดการแบงเซลลแบบไมโอซิสจะได

                     เซลลสืบพันธุซึ่งในที่นี้คือ  ละอองเกสร  (pollen) 4  เซลล  เซลลหนึ่งมีโครโมโซมปกติ  อีกสองเซลล

                     โครโมโซมมีชิ้นสวนที่ขาดหายไปขนาดยาว เซลลสืบพันธุทั้งสองนี้มักจะตาย สวนเซลลสุดทายมีการ
                     ตอกลับทิศทางของชิ้นสวนในโครโมโซม ดังนั้นจึงมีเซลลสืบพันธุ 2 เซลลที่มีชีวิตรอดอยูได
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138