Page 136 -
P. 136
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
132
รูปที่ 12.7 การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดที่เกิดขึ้น 2 แหงในบริเวณอินเวอรชัน ลูป โดยเกี่ยวของ
กับโครมาติดทั้ง 4 เสน (four-stand double crossing over) ในระยะอะนาเฟส I จะได
สะพานโครมาติดคู (double chromatic bridge) กับชิ้นสวนโครโมโซมที่ไมมีเซนโตรเมียร
2 ชิ้น เมื่อสิ้นสุดระยะอะนาเฟส II จะไดละอองเกสร 4 อันที่มีการขาดหายไปของชิ้นสวน
โครโมโซม ทําใหละอองเกสรเปนหมัน
12.5 การตอกลับทิศทางของชิ้นสวนในโครโมโซมชวยเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครโมโซม
ดังที่ไดกลาวไวแลวในขอ 12.4 วาการตอกลับทิศทางของชิ้นสวนโครโมโซมมีผลยับยั้ง
การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครมาติดของโครโมโซมที่มีความผิดปกติดังกลาว เมื่ออยูในสภาพ
เฮตเทอโรไซกัส แต Schultz และ Redfield (1951) พบวาการตอกลับทิศทางของชิ้นสวนโครโมโซม
ชวยเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครมาติดของโครโมโซมคูอื่น ๆ ในแมลงหวี่ เรียกวา
ชุลท-เรดฟลด เอฟเฟค (Schultz-Redfield effect) อิทธิพลดังกลาวชวยทําใหอัตราการแลกเปลี่ยน
ชิ้นสวนโครโมโซมอยูในระดับที่เหมาะสมของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ