Page 56 -
P. 56
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
ไก่เบตง (สายเคยู) สีน�้าตาลทอง และ สีขาว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี โสพรรณรัตน์ *,
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ศรเทพ ธัมวาสร,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยา ลุ้งใหญ่, ดร.อัจฉรา ขยัน,
ผศ.ดร.น.สพ.ชัยวัฒน์ บุญแก้ววรรณ, อ.ชาญวิทย์ แก้วตาปี, นายสมบัติ ประสงค์สุข
รายละเอียดผลงาน
ภาควิชาสัตวบาล ได้น�าไก่เบตง มาเลี้ยง และได้ขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน และตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2551 ภาควิชาจึงได้พัฒนาพันธุ์ไก่ฝูงนี้โดยการวางแผนการผสมพันธุ์และคัดเลือกภายใต้ฝูงปิด โดยการ
คัดเลือกตามวัตถุประสงค์ของการผลิตเป็นเนื้อ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันและเรียกชื่อว่า ไก่เบตง
(สายเคยู)
ไก่เบตง (สายเคยู) ในปัจจุบันพัฒนาออกมาเป็น 2 สาย คือ 1) สีน�้าตาลทองซึ่งมีสีเหมือนสีดั้งเดิม
ของเบตง และ 2) สีขาว ซึ่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกัน แต่มีสีขนเป็นสีขาว หรือขาวครีม ไก่เบตง (สายเคยู)
ทั้งสองสายนี้ยังคงพัฒนาควบคู่กันไป ไก่เบตง (สายเคยู) มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับไก่เบตง ดั้งเดิม แต่มุ่งเน้น
ในให้มีความสามารถในการให้ไข่ได้ดีขึ้นในเพศเมีย และเพศผู้มีการเจริญเติบโตที่ดี ภายใต้สภาวะการจัดการ
ที่เหมาะสม สามารถเลี้ยงขายเป็นเนื้อส่งตลาดได้ในเวลา 3-4 เดือน ซึ่งจะมีระยะเวลาเลี้ยงเพื่อเป็นเนื้อสั้นลง
เมื่อเปรียบเทียบกับไก่เนื้อพื้นเมืองโดยทั่วไปที่เลี้ยงประมาณ 6-7 เดือน
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
มีการเผยแพร่ให้กับเกษตรกรรายย่อยเพื่อน�าไปเลี้ยงและสนับสนุนให้เป็นกิจกรรมส�าหรับนิสิตในด้านต่างๆ
ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
ปี 2555 ถึง ปัจจุบัน ช่วยลดระยะเวลาในการผลิต สามารถน�ามาผลิตในเชิงการค้าได้ แต่เป็นตลาด
ไก่เนื้อที่เฉพาะเจาะจง เป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรรายย่อย
* ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 53