Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
วัสดุปลูก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ พิชกรรม *,
รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์, นางสาวดลยา หนูแก้ว
รายละเอียดผลงาน
1. ผสมซีโอไลต์ : ขุยมะพร้าว : ดินเหนียวอัตราส่วน 8:1:1
2. น�าวัสดุผสมมาอัดเป็นเส้นยาวด้วยเครื่องอัดแบบใช้แรงหมุน
3. ผึ่งให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง แล้วตัดเส้นดินเป็นท่อนตากทิ้งไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท ใช้เวลา 2-3 วัน จะได้
ท่อนวัสดุปลูกยาว 0.5-2 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 - 5 มิลลิเมตร
4. น�าไปเผาโดยใช้เตาเผาความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 600-900 �C เมื่อท่อนวัสดุปลูกเย็นลง จะได้วัสดุปลูก
ที่มีผิวสีส้มหรือด�า มีความแข็งและน�้าหนักเบา
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์
1. น�าไปใช้เป็นวัสดุปลูกต้นไม้ทั่วไปเพื่อทดแทนดินผสม แต่ควรให้ปุ๋ยละลายน�้าร่วมกับการรดน�้าปกติ
2. น�าไปผสมกับดินปลูกต้นไม้หรือวัสดุปลูกอื่นๆ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความโปร่งของดิน
หรือวัสดุปลูก ซึ่งช่วยลดการอัดตัวแน่นของดินได้
3. เพื่อทดแทนดินผสมส�าหรับสวนบนหลังคา โดยมีราคาถูก มีความแข็งแรง น�้าหนักเบา มีการยุบตัว
น้อย และมีความโปร่งที่ท�าให้ระบบรากเจริญเติบโตได้ดีแต่ยังสามารถเก็บกักความชื้นไว้ได้
ผู้ได้รับประโยชน์
ผู้ประกอบการจัดภูมิทัศน์ เจ้าของบ้าน/พื้นที่ที่จัดภูมิทัศน์ ตลอดจนผู้สนใจปลูกต้นไม้ทั่วไป
* ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 57