Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                         คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University





                            ไส้เดือนดินไทเกอร์ (Eisenia fetida)

                             สายพันธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                                           รองศาสตราจารย์ ดร.สมชัย จันทร์สว่าง *

























               รายละเอียดผลงาน
                  ไส้เดือนไทเกอร์สายพันธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นไส้เดือนไทเกอร์ (ซึ่งก�าเนิดในสภาพอากาศ
            หนาวของทวีปยุโรป) ที่โครงการวิจัยการเลี้ยงไส้เดือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์น�าเข้ามาศึกษา และได้ท�าการ
            ผสมพันธุ์ ปรับปรุงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 52 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์ไส้เดือนไทเกอร์ ที่สามารถทน

            สภาพอากาศร้อนในประเทศไทยได้สูงขึ้น ขณะที่ยังคงความสามารถที่จะทนอยู่ในสภาพอากาศหนาวได้


               การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
                  1.  เป็นผลงานวิจัยแก่อาจารย์ นักวิจัย และเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษา
                  2.  ได้มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคม โดย รศ.ดร.สมชัย จันทร์สว่าง ได้จัดการอบรมการเลี้ยงไส้เดือน

            ดินเพื่อเป็นเศรษฐกิจแก่บุคคลภายนอก และเกษตรกรที่สนใจหลายสิบรุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2557 ซึ่งผู้เข้า
            ร่วมอบรมสามารถน�าความรู้ที่ได้ไปก่อตั้งฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนจ�านวนมาก
                  3.  สามารถผลิตมูลไส้เดือนซึ่งเกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหลือทิ้ง ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มี

            คุณประโยชน์ต่อพืชมาก เช่นข้าว พืชผัก ยางพารา เป็นต้น
                  4.  ใช้ไส้เดือนดินในการก�าจัดอินทรียวัตถุเหลือทิ้ง เช่น เศษผัก เศษอาหารจากบ้านเรือน เศษกระดาษ
            เป็นต้น



               ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
                  ตั้งแต่ปี 2543 – 2557 ได้มีการก่อตั้งฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนจ�านวนมาก และมีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน
            จ�าหน่ายตามท้องตลาดอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีการน�าปุ๋ยมูลไส้เดือนและน�้าหมักมูลไส้เดือนไปใช้กับ
            พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผัก รวมทั้งใช้กับการเลี้ยงกุ้งกันอย่างกว้างขวาง มีผลในการเพิ่มผลผลิต

            และลดต้นทุนการผลิต

            *  ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


            หน้า 52 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60