Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
วิธีการค�้ายันต้นไม้
รองศาสตราจารย์ เอื้อมพร วีสมหมาย *
รายละเอียดผลงาน
การประดิษฐ์วิธีการค�้ายันต้นไม้ขุดล้อมที่ปลูกใหม่ในการจัดภูมิทัศน์ทั่วไป ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ล�าต้นตั้งแต่ 1-12 นิ้ว โดยเป็นการค�้ายันต้นไม้แบบใต้ดิน ประกอบด้วย ไม้ค�้ายันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3-4 นิ้ว ไม้ค�้ายันชุดที่ 1 (จ�านวน 4 ท่อน) ยาวท่อนละ 1.50-2.00 ม. เหลาปลายให้แหลม ตอกตั้งฉาก
ลงในดิน 4 มุมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้เบียดชิดกับตุ้มดินของต้นไม้ที่ปลูก ปล่อยให้หัวเสาโผล่เหนือดิน
15 - 20 ซม. ตัดไม้ ค�้ายันชุดที่ 2 และไม้ค�้ายันชุดที่ 3 อีกชุดละ 2 ท่อน แต่ละท่อนยาวกว่าความกว้างของตุ้มดิน
40 ซม. วางไม้ค�้ายันชุดที่ 2 จ�านวน 2 ท่อน พาดบนตุ้มดินให้ติดกับหัวเสาของไม้ค�้ายันชุดที่ 1 และด้านใน
แต่ละคู่เบียดทับบนตุ้มดินของไม้ขุดล้อมให้มากที่สุด ตอกตะปู 4 นิ้ว ยึดติดไม้ค�้ายันเข้าด้วยกัน พาดไม้ค�้ายัน
ชุดที่ 3 อีก 2 ท่อน ทับขวางบนไม้ค�้ายันชุดที่ 2 ให้ชิดหัวเสาของไม้ค�้ายันชุดที่ 1 ทั้ง 4 ต้นที่ปักลงในด้น ปรับให้
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วตอกตะปู ขยับล�าต้นของไม้ขุดล้อมที่ปลูกให้ตรง ตัดไม้ค�้ายันชุดที่ 4 และไม้ค�้ายัน
ชุดที่ 5 อีก 2 คู่ คู่แรกวางพาดขวางทับบนไม้ค�้ายันชุดที่ 3 แต่ต้องเบียดชิดกับล�าต้น ตอกตะปูยึดติดกัน วางไม้
ค�้ายันชุดที่ 5 เป็นคู่สุดท้าย พาดขวางบนไม้ค�้ายันชุดที่ 4 โดยให้ห่างล�าต้น 1-2 ซม. เพื่อให้ต้นไม้ขยับตัว
ได้บ้าง ตอกตะปูยึดไม้ค�้ายันเข้าด้วยกัน ไม้ค�้ายันชุดที่ 1 ไม้ค�้ายันชุดที่ 2 และไม้ค�้ายันชุดที่ 3 จะเป็นตัวยึดตุ้ม
ดินของไม้ขุดล้อม ส่วนไม้ค�้ายันชุดที่ 4 และ 5 จะเป็นตัวยึดล�าต้นของไม้ขุดล้อม เติมดินผสมในหลุมปลูกและ
รอบหลุมปลูกให้แน่น อย่าให้ดินทับไม้ค�้ายันที่โผล่เหนือดิน ตกแต่งไม้ค�้ายันให้สวยงามโดยการลอกเปลือก
และทาสีน�้ามัน
* ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
หน้า 48 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์