Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง
นายเรืองศักดิ์ กมขุนทด *
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองชัย แบบประเสริฐ **
รายละเอียดผลงาน
น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง เกิดจากการผสมระหว่าง (Cherimoya X หนังครั่ง) X หนังเขียว
# 102 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดกลางรูปหอก กว้าง 7.4 ซม. ยาว 14.9 ซม. สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นเห็นชัด
ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 9 ซม. ยาว 2.8 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจ เฉลี่ยกว้าง 9.0 ซม. ยาว 9.7 ซม.
น�้าหนักผลเฉลี่ย 373.9 กรัม/ผล ผิวผลเรียบมีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อน สีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัด
สีเขียวอ่อน - ขาวนวล เปลือกบางลอกเปลือกได้ ผลไม่แตกเมื่อแก่หรือสุก เนื้อเหนียวแน่นคล้ายน้อยหน่าหนัง
สีเขียว ปริมาณเนื้อ 73% เมล็ดสีน�้าตาลอ่อน เฉลี่ย 36 เมล็ด/ผล รสหวานหอม ความหวาน 20 บริกซ์ อายุหลัง
การเก็บเกี่ยวยาวนานเฉลี่ย 4.9 วัน
ต้นอายุ 2 ปีหลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปี การติดผลดกกระจายทั่วต้น ขนาด
ผลสม�่าเสมอ ผลผลิตโดยเฉลี่ย 2.2 กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปี เฉลี่ย 4.4 กก./ต้น/ปี เฉลี่ย 37.9 กก./ต้น/ปี
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่มีผลขนาดใหญ่ เนื้อเหนียวแน่น ผู้ได้รับประโยชน์ เกษตรกร
ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พื้นที่ปลูกประมาณ 50,000 ไร่) ผู้จ�าหน่ายและประชาชนผู้บริโภค
ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
เกษตรกรสามารถจ�าหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น (50 บาท/กก. เทียบกับน้อยหน่าพันธุ์พื้นเมือง 20 บาท/กก.)
ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในรสชาติและผิวสัมผัสของเนื้อ ได้รับรางวัลงานวิจัยที่
สร้างผลกระทบ ระดับ Gold จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2554
* สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
** ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 45