Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                         คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University





                                มะละกอลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2



                                                                 รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองชัย แบบประเสริฐ และคณะ *



















               รายละเอียดผลงาน

                  การปรับปรุงพันธุ์มะละกอลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2 ด�าเนินการที่สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์ อ�าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2540-2549 เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มี
            คุณภาพและผลผลิตดีกว่าพันธุ์การค้าเดิม โดยเริ่มจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างมะละกอพันธุ์แขกด�ากับ
            มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 แล้วเอาเมล็ดมาเพาะและปลูกลงแปลง หลังจากนั้นได้คัดเลือกต้นที่ดีไว้ 3 สายพันธุ์

            คือ 1 -19, 12-21 และ 13-19 ผ่านการคัดเลือก 7 รอบ และท�าการปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์แขกด�าและพันธุ์
            ปากช่อง 1 พบว่า มะละกอลูกผสมสายพันธุ์ 12-21 ให้ลักษณะทางคุณภาพและผลผลิตดีกว่าพ่อแม่พันธุ์
            จึงตั้งชื่อว่ามะละกอพันธุ์ปากช่อง 2 โดยมีลักษณะดังนี้
                  ล�าต้นมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ก้านใบสีเขียว ยาว 80-89 เซนติเมตร ใบมีเจ็ดแฉก ใบสีเขียวเข้ม ใบกว้าง

            65-70 เซนติเมตร ใบยาว 65-70 เซนติเมตร สีใบอยู่ในกลุ่มสีเขียว Green Group 139 A น�้าหนักผลดิบ
            1,000-2,000 กรัม น�้าหนักผลสุก 900-1,100 กรัม สีผิวสุกสีเหลืองส้ม Yellow Orange Group สีเนื้อสุก
            สีส้มแดง ความหนาเนื้อเฉลี่ย 3 เซนติเมตร น�้าหนักเนื้อ 810 กรัม น�้าหนักเปลือก 50 กรัม น�้าหนักเมล็ด 40 กรัม
            คิดเป็นเนื้อร้อยละ 90 เปลือกร้อยละ 5.5 เมล็ดร้อยละ 4.5 ความหนาของเปลือก 0.16 เซนติเมตร ความหวาน

            15 องศาบริกซ์ กลิ่นหอมรสชาติดี ผลผลิตเก็บเกี่ยวเนื้อ 8-18 เดือน มีผลผลิตต่อต้น 40-50 กิโลกรัมต่อต้น
            มากกว่าพันธุ์ปากช่อง 1 ต้นละ 10 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน



               การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
                  การใช้ประโยชน์ มะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะทางคุณภาพและผลผลิตดีขึ้น ผู้ได้รับประโยชน์
            เกษตรกรใน 5 จังหวัดภาคเหนือ (พื้นที่ปลูกประมาณ 50 ไร่/ปี) และเกษตรกรใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
            (พื้นที่ปลูกประมาณ 20 ไร่/ปี) ผู้จ�าหน่ายและประชาชนผู้บริโภค



               ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

                  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยเฉพาะชาวเขาและเกษตรกรในพื้นที่
            โครงการหลวง โดยจ�าหน่ายได้ในราคา 20 บาท/กก. ผลิตได้ไร่ละ 4,000 กก.

            * ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


            หน้า 44 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53