Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
42
บทที่ 3
ความแข็งแรงดิน
(Soil Strength)
การปลูกต้นกล้าหรือหยอดเมล็ดพืช เกษตรกรต้องเตรียมดินโดยการไถพรวนดิน
เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช แน่นอนเกษตรกรเห็นผล
ของการไถเตรียมดินคือการแตกตัวของดิน แต่ในสถานะของนักวิชาการนักวิจัย เราจ าเป็น
อย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจขบวนการต่างๆที่จะไปถึงจุดดังกล่าว ดังนั้นในบทนี้จะเขียนเกี่ยวกับ
การส่งแรงกระท าระหว่างเครื่องมือกับดิน โดยเขียนทั้งทฤษฎีความเค้น ทฤษฎีความเครียด
ทฤษฎีที่ใช้ศึกษาการวิบัติของดิน ตลอดจนการศึกษาเรื่องความแข็งแรงของดินที่ทดลองทั้ง
ในห้องปฏิบัติการและในแปลงเกษตรกรรม และความเร็วการออกแรงกระท าต่อดินจะมี
ผลแตกต่างจากสภาพการออกแรงในลักษณะ quasi - static อย่างไร
3.1 พฤติกรรมเชิงกลของดิน (Mechanical behavior of soil element)
3.1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของพฤติกรรมเชิงกลของดิน
เมื่อมีแรงกระท ากับมวลดิน จะพิจารณาก้อนดินที่ถูกแรงกระท าเป็นก้อนดินขนาด
เล็ก แทนการพิจารณาก้อนดินมีขนาดโต ทั้งนี้เพื่อให้มีความถูกต้องมากที่สุดในการ
วิเคราะห์แรงกระท าเพื่อจะผิดพลาดน้อย เนื่องจากดินเป็นวัตถุที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (non –
homogeneous) มีส่วนปริมาตรช่อง (pore space) เป็นที่อยู่ของน ้าและอากาศ ปริมาตรช่อง
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ช่องระหว่างอนุภาค (interparticle pore space หรือ intraaggregate
pore space) และช่องระหว่างเม็ดดิน (interaggregate pore space) (คณะกรรมการ
จัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา , 2541)
การไถพรวน (tillage) หมายถึง การออกแรงกระท ากับดินโดยผ่านผิวของเครื่องมือ
ทั้งนี้แรงกระท าต่อดินอาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก และพื้นที่ผิวเครื่องมือก็อาจจะมีขนาด