Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อุตสาหกรรมการผลิตสตรอเบอร์รี่ภายใต้เงินทุนสนับสนุนของศูนย์
พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติโดยพบว่า จากยอดเงินลงทุน
ในโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสตรอเบอร์รี่จากปี 2537-
2548 เป็นจำานวน 16.36 ล้านบาท นั้นได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ที่เป็นผลตอบแทนสุทธิจนถึงปี 2548 ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5 พบว่า มีค่า
เท่ากับ 7.07 ล้านบาท (คิดเทียบมูลค่ากลับไปในปีที่เริ่มต้นโครงการ)
โดยมี B/C-ratio เท่ากับ 1.63 นอกจากนี้หากพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่
เกิดขึ้นจากงานวิจัยดังกล่าวสามารถใช้ได้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2556 (หรืออีก
8 ปี ข้างหน้า) พบว่ามูลค่าผลตอบแทนสุทธิจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านบาท
โดยมี B/C-ratio เท่ากับ 3.05 จึงสรุปได้ว่าการลงทุนในโครงการพัฒนา
เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสตรอเบอร์รี่ได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
คุ้มค่ากับการลงทุน และขนาดของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะมีขนาดใหญ่
ขึ้นเมื่อเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีการใช้สืบต่อเนื่องไปในอีก 8 ปีต่อไปและใน
ระยะต่อมา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (2552)
ได้มีการประเมินผลประโยชน์จากการดำาเนินโครงการประจำาปีงบประมาณ
โดยระบุว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการต่างๆในปีงบประมาณ
2552 ของไบโอเทคก่อให้เกิดผลกระทบทางตรงที่เป็นตัวเงินต่อไบโอเทค
สวทช. เป็นรายรับที่เกิดขึ้นรวม 22 ล้านบาท และเกิดผลกระทบทางตรง
ต่อหน่วยงานที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและใช้บริการประมาณ 87
ล้านบาท นอกจากนี้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆส่งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น ลด
การนำาเข้าการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นต้นซึ่งประเมินเป็นตัวเงินได้ประมาณ 207
ล้านบาท โดยสำาหรับการวิจัยในด้านเกษตรซึ่งประกอบด้วย 8 โครงการใน
ปีงบประมาณ 2552 ได้แก่ 1) การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุง
พันธุ์ข้าว 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
33