Page 53 -
P. 53
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ยังคาดว่าความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นตามผลผลิตสัตว์
ปีกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลัง
อันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอดในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-
2554 (Global Trade Atlas, 2556) การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลัง
ของไทยมีทิศทางการขยายตัวต่อเนื่องโดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ
3.72 ต่อปี ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 16.40 ต่อปีในเชิงมูลค่า เห็นแล้ว
ว่ามันสำาปะหลังมีความสำาคัญต่อประเทศไทยมาในเชิงเศรษฐกิจทั้งระดับ
ชุมชนและระดับประเทศ (สถาบันอาหาร, 2557)
การประเมินผลประโยชน์ของงานวิจัยด้านการพัฒนาสายพันธุ์
มันสำาปะหลังในประเทศไทยยังไม่ได้มีผู้ทำาการศึกษาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง
การศึกษาในประเด็นเหล่านี้ ถือว่ามีความสำาคัญต่อเศรษฐกิจการผลิต
มันสำาปะหลังและความมั่นคงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประเด็นดังกล่าว
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart
University Research and Development Institute-KURDI) ได้ให้การ
สนับสนุนเงินทุนวิจัย เพื่อนำาไปสู่การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลัง การ
วิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำาปะหลังต้องดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง จำาเป็นต้อง
มีแผนการดำาเนินงาน และการทำางานเป็นทีมจึงจะประสบผลสำาเร็จ การได้
พันธุ์มันสำาปะหลังที่มีลักษณะต่างๆ ที่ดีมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง
มีลักษณะต่างๆ ที่ดี ปรับตัวได้ดีในเขตพื้นที่ปลูก ต้านทานต่อโรค และแมลง
ที่สำาคัญ เป็นการลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
ตลอดจนลดการใช้สารเคมีป้องกัน กำาจัดโรค และแมลง รวมทั้งลดผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง โดยเฉพาะการคัดเลือกหาสายพันธุ์ หรือ
พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการโดยเฉพาะ
นักปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังว่ายังมีโอกาสที่จะสร้างพันธุ์ให้ดีกว่าปัจจุบัน
สำาหรับวัตถุประสงค์ของการประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาและ
ปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลัง พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เพื่อศึกษา ทบทวน และ
สังเคราะห์โครงการวิจัย รวมทั้งศึกษาถึงผลสำาเร็จของโครงการวิจัยที่
38