Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของชุมชน 3) การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม 4) การใช้อ้อยอาหารสัตว์เป็นแหล่ง
อาหารหยาบ 5) การถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรการผลิตแหนมและสูตรเชื้อ
จุลินทรีย์ในการผลิตต้นเชื้อแหนม 6) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน
กระบวนการแปรรูปอาหารและสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP): ผู้
ผลิตแคบหมู จ. เชียงราย 7) การให้คำาปรึกษาจัดทำาระบบมาตรฐานความ
ปลอดภัยแก่โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร GMP / HACCP และ 8) การ
พัฒนากระบวนการเร่งการหมักน้ำาปลาโดยใช้เอนไซม์ ซึ่งเป็นผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 37.2 ล้านบาท
จากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ในส่วนของการ
รวบรวมผลงานวิจัยและการประเมินผลประโยชน์ของงานวิจัยด้านเกษตร
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังไม่ปรากกฎผู้ที่ทำาการศึกษาไว้ ซึ่งการศึกษา
ในประเด็นดังกล่าวนี้ถือว่า มีความสำาคัญต่อการประเมินผลงานวิจัยด้าน
เกษตรของมหาวิทยาลัยที่มีผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศไทย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำาเนินการวิจัย
เพื่อตอบโจทย์ในประเด็นดังกล่าว
2.4.1 กรอบแนวคิดของก�รศึกษ�
จากบริบทที่กล่าวมาข้างต้น ในการศึกษาครั้งนี้สามารถแบ่ง
แยกงานวิจัยด้านเกษตรที่จะประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2
กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) งานวิจัยที่สร้างผลประโยชน์ทางตรงหรือเป็นกลุ่มงานวิจัยที่
มีมูลค่าในตลาด และ 2) งานวิจัยที่สร้างผลประโยชน์ทางอ้อมหรือเป็นกลุ่มงาน
วิจัยที่ไม่ได้มีมูลค่าในตลาดโดยตรง ซึ่งเมื่อมีการประเมินผลประโยชน์จากงานวิจัย
ทั้งหมดแล้ว ผลลัพธ์จากการศึกษาในครั้งนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าผลประโยชน์
โดยรวมจากการสร้างสรรค์งานวิจัยด้านเกษตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งกรอบแนวคิดของการศึกษาสามารถแสดงเป็นแผนภาพที่ 2-5 ได้ดังนี้
34