Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในขณะที่ กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ (2556) ได้ศึกษาการ
ประเมินผลประโยชน์จากการพัฒนาสายพันธ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปนั้น
งานวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองสาขา คือ สาขา
วิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคม ผลงานวิจัย
สายวิทยาศาสตร์เกษตรที่เกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นงานวิจัยพื้นฐานเป็น
ส่วนใหญ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ
คุณภาพผลผลิต ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมความมั่นคงทางด้าน
อาหารแก่ประชากร รวมถึงทำาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตเก็บ
เกี่ยว และการเก็บรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ด้านโครงสร้างผลงานวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคมนั้น มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนา
และเผยแพร่ความรู้ทางเศรษฐกิจและการตลาดเป็นหลัก และมีประโยชน์ใน
ด้านการช่วยบรรเทาความยากจนและเพิ่มการกระจายรายได้ของเกษตรกรผู้
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก โดยผลการศึกษาในส่วนของการประเมินผล
ประโยชน์จากงานวิจัยระบุว่า การวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด “สุวรรณ
1” ก่อให้เกิดผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิในปี พ.ศ. 2509 สูงถึง 4,652
ล้านบาท และหากคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ ปี พ.ศ. 2556 จะมีมูลค่าสูง
เพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่า 46,082 ล้านบาท นอกจากนี้ อัตราส่วน
ของผลประโยชน์ต่อต้นทุนยังแสดงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนวิจัยที่ให้ผล
ตอบแทนประมาณ 66 เท่าของต้นทุนการทำาวิจัย และเมื่อพิจารณาอัตราผล
ตอบแทนภายในจากการลงทุนวิจัยแล้ว พบว่า ให้ผลตอบแทนสูงถึงเกือบ
ร้อยละ 70
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานได้ประเมินผล
ประโยชน์จากงานวิจัยภายใต้การดำาเนินงานของหน่วยงานตนเองดังเช่น
สมพร อิศวิลานนท์ สุวรรณา ประณีตวตกุล และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล
(2548) ได้ประเมินผลประโยชน์ของโครงการโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและ
32