Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


          2.4 ง�นวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                  สำาหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยที่

          มีผลต่อสังคมนั้น กัมปนาท วิจิตรศรีกมล (2553) ระบุว่าสามารถพิจารณา
          ผลประโยชน์ดังกล่าวได้จากมูลค่าของ “ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ” ประกอบ

          ด้วยส่วนเกินทั้งของผู้บริโภคและผู้ผลิต  โดยส่วนเกินทางเศรษฐกิจนี้จะ
          คำานวณในรูปของผลประโยชน์สุทธิซึ่งควรมีค่าเป็นบวกหรือมีผลดีต่อสังคม
          โดยรวมเสมอ  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยมีส่วนทำาให้เกิดการ

          เปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานของระบบเศรษฐกิจ
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำาคัญในการขับเคลื่อนให้สังคม

          ได้รับส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าบางส่วนของสังคมอาจจะมีการ
          สูญเสียผลประโยชน์ไปบ้าง  แต่โดยรวมแล้วสังคมได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
          นอกจากนี้ การประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัยนั้น อาจ

          เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าที่ราคาไม่ปรากฏในตลาด ส่วนใหญ่เป็นงาน
          วิจัยที่มีผลกระทบต่อด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การประเมิน

          มูลค่าจึงต้องอาศัยวิธีการประเมินทางอ้อมเพื่อประมาณมูลค่านั้นๆ
          ให้สามารถเปรียบเทียบเป็นมูลค่าทางการเงินได้  อย่างไรก็ตาม  ไม่ว่างาน
          วิจัยนั้นจะนำาไปสู่การได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่สามารถคำานวณเป็นมูลค่า

          ทางการเงินได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม การประเมินมูลค่าผลประโยชน์ทาง
          เศรษฐศาสตร์โดยสรุปก็คือการประเมินมูลค่าผลประโยชน์สุทธิที่สังคมโดย

          รวมได้รับหลังจากหักมูลค่าการลงทุนในงานวิจัยและมูลค่าที่สังคมอาจต้อง
          สูญเสียประโยชน์ไปบางส่วนแล้ว

                    ทั้งนี้  มีงานวิจัยจำานวนไม่มากในประเทศไทยที่ได้ประเมินผล

          ประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยด้านเกษตร  เช่น  สมพร
          อิศวิลานนท์และคณะ  (2548)  ได้ศึกษาผลสำาเร็จของงานวิจัยเกษตรที่สูง
          โครงการหลวงในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งพบว่า ผลลัพธ์หลักของงานวิจัยจะ




      30
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50