Page 77 -
P. 77
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 59
21 หรือ 22 ธันวาคมของทุกปี (147 ล้านกิโลเมตร) จากเหตุผลดังกล่าว ฤดูร้อนทางซีกโลกเหนือมี
พลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบน้อยกว่าฤดูร้อนทางซีกโลกใต้ แต่อย่างไรก็ตาม พลังงานจาก
ดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลกจะมีปริมาณลดลง เนื่องจากการดูดกลืนพลังงาน
การสะท้อน การส่งผ่านพลังงาน การกระเจิง และการหักเห เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศ
ภาพที่ 3.11 พลังงานจากดวงอาทิตย์ในแต่ละวัน (เมกะจูลต่อตารางเมตร) ที่ละติจูดต่างๆ บน
พื้นผิวโลกในช่วงเวลาแต่ละเดือน เมื่อไม่มีอิทธิพลจากชั้นบรรยากาศของโลก
ที่มา : ดัดแปลงจาก Wallace and Hobbs (1977)
ในกรณีที่ท้องฟ้ าแจ่มใส (clear sky) การดูดกลืนและการกระเจิงพลังงานจากดวง
อาทิตย์ โดยโมเลกุลของอากาศในวันที่ท้องฟ้ าแจ่มใส ค านวณได้จากสมการที่ (3.14) และสมการที่
(3.15) ตามล าดับ
O
กรณีดูดกลืน dE = K sec(90 - ) E dz . . . (3.14)
SO
SA
O
กรณีกระเจิง dE = K A sec(90 - ) E dz . . . (3.15)
SO
SM
เมื่อท าการอินทิเกรตสมการทั้งสองจะได้ พลังงานแผ่กระจายที่ผ่านบรรยากาศหนา z ดังนี้