Page 108 -
P. 108

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                 90    กระบวนการคายระเหยน ้า








                            การคายน ้าของพืชจะถูกจ ากัดโดยปริมาณน ้าในดินที่พืชสามารถดูดขึ้นมาใช้ได้ และ

               ถูกจ ากัดโดยความชื้นในอากาศในขณะนั้น นอกจากนี้ยังถูกจ ากัดโดยขนาดความเจริญเติบโตและ
               ชนิดของพืช


                     4.3.2  การคายระเหยน ้า (Evapotranspiration)


                            การคายระเหยน ้าเป็นกระบวนการระเหยน ้าควบคู่กับกระบวนการคายน ้าซึ่งอยู่
               ภายใต้อิทธิพลจากความชื้นในดินที่มีน ้าเพียงพอแก่การระเหยน ้าจากดินและการดูดน ้าขึ้นไปคาย

               น ้าจากพืช และภายใต้อิทธิพลจากขนาดของพืชที่เจริญเติบโต กล่าวคือ ถ้าดินมีความชื้นมาก พืช
               จะสามารถดูดน ้าขึ้นไปใช้เพื่อการคายน ้าได้โดยไม่จ ากัด และการระเหยน ้าจากดินก็เกิดขึ้นได้โดย

               ไม่จ ากัดเช่นเดียวกัน แต่ถ้าดินมีความชื้นน้อยพืชก็จะดูดน ้าขึ้นไปใช้เพื่อการคายน ้าได้ในปริมาณที่
               จ ากัดเช่นเดียวกันกับการระเหยน ้าจากดินจะเกิดขึ้นได้น้อย พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะดูดน ้าและ
               คายน ้าได้มากกว่าพืชที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่


                            ในกรณีที่ความชื้นในดินมีเพียงพอต่อการระเหยน ้าและคายน ้าของพืช เรียก

               สถานภาพนี้ว่า ศักยภาพของการคายระเหยน ้า (potential evapotranspiration, E ) ในกรณีที่น ้ามี
                                                                                   pot
               ไม่เพียงพอแก่การระเหยน ้าและคายน ้า ปริมาณการระเหยน ้าจะถูกควบคุมโดยกระบวนการคาย
               น ้าของพืช สถานภาพเช่นนี้เรียกว่า การคายระเหยน ้าจริง (actual  evapotranspiration,  E )
                                                                                                act

               ศักยภาพของการคายระเหยน ้า (E )  ค านวณได้จากสมการที่ (4.32)  ในกรณีที่ทราบค่าของ
                                              pot
               พลังงานสุทธิจากดวงอาทิตย์และโลก ทราบค่าของความดันไอน ้าที่ผิวระเหยแตกต่างกับความดัน
               ไอน ้าที่ระดับ 2 เมตร และทราบค่าความเร็วลมเฉลี่ยที่ระดับ 2 เมตรจากผิวระเหย เมื่อผิวระเหย
               น ้าอยู่ชิดกับผิวน ้า เช่น นาข้าว สนามหญ้า ทุ่งหญ้า


                            ในกรณีที่ต้นไม้มีความสูงและมีเรือนยอดหลายชั้นสามารถค านวณศักยภาพการ

               คายระเหยน ้าได้จากการวัดพลังงานสุทธิ ความดันไอน ้าในอากาศในแต่ละระดับความสูง ซึ่ง
               จะต้องค านึงถึงการถ่ายเทมวลของไอน ้า การถ่ายโอนโมเมนตัมของอากาศและการถ่ายเทความ

               ร้อนแบบอลวนภายใต้เรือนยอดไม้และเหนือเรือนยอดไม้ ซึ่งในกรณีนี้จะต้องท าการศึกษาโดยการ
               ตั้งหอคอยเพื่อการศึกษาสภาพอุตุนิยมใกล้ผิวดิน  (micrometeorological  conditions)  ของพื้นที่
               ศึกษานั้นๆ ความสูงของหอคอยต้องสูงกว่า 2 เท่าของเรือนยอดไม้


                            เมื่อทราบศักยภาพของการคายระเหยน ้าของพื้นที่แล้ว จะสามารถค านวณค่าการ
               คายระเหยน ้าจริงได้ โดยความสัมพันธ์ในสมการที่ (4.33)


                            E        =      E   f (crop development)  f (soil moisture)   . . . (4.33)
                                              pot
                             act
                                                                       2
                                                  1
               เมื่อ     f     =    ปัจจัยด้านความเจริญเติบโตของพืชที่เกี่ยวข้องกับการคายน ้า
                      1
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113