Page 111 -
P. 111
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 93
1.0
f 0.5
2
0 เหี่ยวถาวร ความชื้นสนาม
ความชื้นอิ่มตัว
ความชื้นในดิน (ร้อยละโดยปริมาตร)
ภาพที่ 4.7 ความสัมพันธ์ระหว่าง f และความชื้นในดิน
2
เนื่องจากค่า f และ f ต่างก็มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ซึ่งหมายถึง จ านวนร้อยละของ
1
2
อิทธิพลจากการเจริญเติบโตของพืช (f ) และจ านวนร้อยละของอิทธิพลจากความชื้นในดิน (f ) ต่อ
2
1
ศักยภาพของการคายระเหยน ้า นั่นคือ ถ้า f หรือ f มีค่าเป็น 0 หมายความว่าพื้นที่นั้นจะไม่มีการ
2
1
คายระเหยน ้า ถ้า f มีค่าเป็น 1 แสดงว่าปัจจัยด้านความเจริญเติบโตของพืชนั้นสนับสนุนให้มีการ
1
คายระเหยน ้าอย่างสมบูรณ์ ถ้า f มีค่าเป็น 1 แสดงว่าปัจจัยด้านความชื้นในดินนั้นสนับสนุนให้มี
2
การคายระเหยน ้าอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกัน
4.3.3 การวัดปริมาณน ้าระเหย
การวัดปริมาณน ้าระเหย หมายถึง การวัดปริมาณน ้าที่ลดลงโดยการระเหยต่อหนึ่ง
หน่วยผิวน ้าในช่วงเวลาใดๆ ซึ่งเป็นการวัดความสูงของน ้าที่ระเหยในหน่วยเซนติเมตร มิลลิเมตร
หรือนิ้ว ในหน่วยเวลาวัดเป็นชั่วโมงหรือวัน เครื่องมือที่ใช้วัดการระเหยน ้า ประกอบด้วย ถาดวัด
การระเหยน ้าแบบอเมริกัน (American Class A Pan) กระบอกวัดการระเหยน ้าขนาด 5 นิ้ว (Small
evaporation pan) และแอทโมมิเตอร์แบบพิเช่ (Piche atmometer) เครื่องวัดการระเหยน ้าแต่ละ
แบบมีลักษณะและการใช้งาน ดังนี้
1) ถาดวัดการระเหยน ้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วย ถาดน ้า (pan) ที่รองรับท าให้
เกิดบ่อน ้านิ่ง (stilling well) และขอวัดระดับน ้า (hook gauge)
ถาดน ้า (ภาพที่ 4.8) เป็นถาดเหล็กเคลือบสังกะสี หรือโลหะผสม มีน ้าหนักเบา มี
รูปร่างกลมแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 1.20 เมตร ลึก 25 เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานไม้
หนาแต่อากาศผ่านได้ และปรับให้อยู่ในแนวระดับใส่น ้าสะอาดลึก 20 เซนติเมตร