Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 97
จริง ซึ่งมีค่าน้อยกว่าศักย์การคายระเหยน ้าการวัดการคายระเหยน ้าจะใช้หลักการสมดุลของน ้า
ดังนี้
การคายระเหยน ้า = น ้าฝน + น ้าที่ให้ – น ้าที่ระบาย + การเปลี่ยนแปลงความชื้นของดิน
E or E = P + R - R + (S) . . . (4.35)
pot
act
2
1
การเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินได้จากการวัดความชื้นในดินที่ความลึก 10, 25, 50,
100, 150, 250 เซนติเมตร ตามล าดับ ในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อเดียวกันตลอดไม่แบ่งเป็นชั้นๆ
ส าหรับกรณีที่ดินมีหลายชั้นให้วัดความชื้นบริเวณกึ่งกลางของชั้นดิน (profile) ถ้าชั้นดินหนามาก
ให้วัดความชื้นดินทุกระยะ 25 เซนติเมตรของแต่ละชั้นดินดังกล่าว การวัดความชื้นดินทุกวันหรือ
ทุกสัปดาห์ขึ้นกับลักษณะการให้น ้ากับดินและลักษณะของเนื้อดิน ในกรณีที่เป็นดินเนื้อหยาบอาจ
ใช้ช่วงเวลาการวัดค่อนข้างสั้น แต่ดินเนื้อละเอียดต้องการช่วงเวลาในการวัดค่อนข้างยาว
เครื่องมือที่ใช้วัดความชื้นที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ เครื่องวัดความชื้นดินแบบนิวตรอน (ภาพที่
4.11) และเครื่องวัดความชื้นดินแบบสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ
เครื่องแสดงความลึก
(Depth Indicater)
Cable Clamp เครื่องนับจ านวนนิวตรอนช้า
Lock (Ratemeter or Ratescler)
สายส่งสัญญาณ
พลาสติก (Cable)
(Plastic Shield & Standard)
ท่อวัดความชื้น (Access tube)
หัวตรวจความชื้น (Probe)
เครื่องตรวจจับนิวตรอน
(Neutron detector)
หัวนิวตรอน (Neutron source)
ภาพที่ 4.11 เครื่องวัดความชื้นดินแบบนิวตรอน