Page 119 -
P. 119
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 101
ทั่วแปลงทดลอง การวัดปริมาณน ้าฝนบนผิวดินจะต้องวัดทั้งการไหลเข้าและไหลออก จากนั้น
จงเปลี่ยนให้เป็นหน่วยเดียวกัน แล้วแทนค่าในสมการสมดุลของน ้าเพื่อค านวณการคายระเหยน ้า
จากแปลงทดลองต่อไป
3) การคาดคะเนการคายระเหยเฉลี่ยจากพื้นที่ลุ่มน ้า
การคาดคะเนการคายระเหยน ้าจากพื้นที่ลุ่มน ้าคล้ายคลึงกับการวัดการคายระเหย
น ้าจากแปลงทดลอง แต่ขนาดของพื้นที่ใหญ่กว่ากันมาก กล่าวคือ ค่าการคายระเหยน ้าที่ได้จะเป็น
ค่าเฉลี่ยของทั้งลุ่มน ้า ซึ่งต่างจากการวัดการระเหยน ้าจากแปลงทดลองจะเป็นของพืชชนิดใดชนิด
หนึ่ง เนื่องจากเลือกปลูกได้ การวัดตัวแปรในลุ่มน ้าบางตัวท าได้ยาก เช่น การไหลของน ้าใต้ดิน
ปริมาณความชื้นในดิน ปริมาณน ้าที่ขังตามแอ่งน ้า การไหลเข้าออกของน ้าตามล าน ้า ปริมาณ
น ้าฝน เป็นต้น ดังนั้นการคาดคะเนการคายระเหยน ้าของลุ่มน ้าจึงมักจะท าในระยะเวลานานพอ
สมควร เช่น 1 ปี เพื่อให้ตัวแปรบางตัวจะมีค่าที่เปลี่ยนกลับมาเท่าเดิมหรือใกล้เคียง เช่น ปริมาณ
ความชื้นของดิน ทั้งนี้เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลานานจะมีค่าน้อยและในทางปฏิบัติก็
เป็นไปได้ยากที่จะวัดความชื้นของดินจากพื้นที่ลุ่มน ้าให้เหมือนกับวัดจากแปลงทดลอง
4) การคาดคะเนการคายระเหยน ้าจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน ้าใต้ดิน
การคาดคะเนการคายระเหยน ้าโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับน ้าใต้ดิน
ท าได้ในกรณีที่เขตรากพืชอยู่ไม่ห่างจากระดับน ้าใต้ดิน น ้าที่แทรกขึ้นมาตามช่องว่างในดินขนาด
เล็ก (capillary fringe) เป็นแถบความชื้นที่พืชสามารถดูดน ้าไปใช้ได้ ซึ่งจะท าให้ระดับน ้าใต้ดินลด
ต ่าลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวัน แต่ในช่วงเวลากลางคืนพืชไม่มีการคายน ้า ระดับน ้า
ใต้ดินอาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเนื่องจากมีน ้าไหลมาทดแทน เมื่อท าการวัดระดับน ้าใต้ดินที่เปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลาจะคาดคะเนปริมาณน ้าที่คายระเหยจากพืชได้