Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.7 บทสรุป
ในบทนี้เราไดพิจารณาผลของการแพรกระจายคลื่นผานชองสัญญาณสื่อสารแบบไรสาย โดยเริ่มศึกษา
จากการแพรกระจายในทิศทางตรง (LOS) ซึ่งเปนรูปแบบพื้นฐานที่งายที่สุดของแบบจําลองการแพรกระจาย
ทางกายภาพ (Physical Propagation Models) พบวาการลดทอนกําลังของสัญญาณนั้นแปรผกผันกับกําลัง
สองของระยะทางระหวางตัวรับและตัวสง จากนั้นเราศึกษาผลของการแพรกระจายในลักษณะอื่น ๆ เชน การ
หักเห การเลี้ยวเบน การกระเจิง ที่กอใหเกิด multipath ซึ่งทําใหคุณภาพของสัญญาณดอยลง การวิเคราะห
แบบจําลองทางกายภาพในกรณีนี้นั้นซับซอนเกินกวาที่จะใชงานทั่วไปในทางปฏิบัติ เราจึงศึกษาตัวอยาง
แบบจําลองทางสถิติซึ่งชวยใหสามารถประมาณคาเฉลี่ยการสูญเสียจากการแพรกระจายในรูปของการลดทอน
ที่ระยะตาง ๆ ไดอยางสะดวกรวดเร็ว เชน แบบจําลองอยางงาย (Simplified model) แบบจําลองของ Hata
และ Lee อยางไรก็ตามคาที่ประมาณไดนั้นยังมีความแปรปรวนของระดับสัญญาณซึ่งเปนผลจาก
สภาพแวดลอม การแพรกระจายหลายเสนทาง และ การเคลื่อนที่ของตัวรับและตัวสง ซึ่งสามารถอธิบายได
ดวยแบบจําลองการเลือนของสัญญาณ (Fading Model) ที่มีทั้งระดับสเกลใหญ (Large-Scale) หรือระยะยาว
(Long-Term) ที่เปนการเปลี่ยนระดับสัญญาณแบบชา ๆ และระดับสเกลเล็ก (Small-Scale) หรือระยะสั้น
(Short-term) ที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนระดับสัญญาณอยางรวดเร็ว ลักษณะการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ
สามารถอธิบายไดดวยฟงกชันความหนาแนนความนาจะเปนของ envelope สัญญาณแบบตาง ๆ เชน
Lognormal, Rayleigh, Rician, Lognormal, Nakagami และ Suzuki
รูปที่ 2-28 ภาพรวมของผลกระทบจากการแพรกระจายของคลื่นในรูปแบบตาง ๆ ซึ่งแสดงที่มาและ
ความสัมพันธของแบบจําลองแตละรูปแบบ
หนา 41