Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
59
ขั้นสิ้นสุดโซ่ เกิดได้ 2 วิธี คือ
(1) การถ่ายโอนโซ่ให้มอนอเมอร์ (Chain transfer to monomer) เป็นการสิ้นสุดสายโซ่พอลิเมอร์
พร้อมกับได้แคตไออนใหม่ ดังแสดงในภาพที่ 3-11 เนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนในเมทิล
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
โมเลกุลเกาะที่ Carbocation หลุดออกจากพันธะไปหาคาร์บอนพันธะคู่ในมอนอเมอร์ สายโซ่
Carbocation จึงสิ้นสุดไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาต่อไปได้อีกและมีคาร์บอนพันธะคู่เกิดขึ้นใน
สายโซ่ด้วย ในขณะที่มอนอเมอร์กลายเป็นแคตไอออนทําหน้าที่ริเริ่มปฏิกิริยาได้ต่อไป
ภาพที่ 3-11 ขั้นสิ้นสุดโซ่แบบการถ่ายโอนโซ่ให้มอนอเมอร์
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://www.pslc.ws/mactest/level4.htm
(2) การเกิดปฏิกิริยากับแอนไอออนของสารริเริ่มปฏิกิริยา หากย้อนกลับไปที่ขั้นริเริ่มโซ่ จะมีแอน
ไอออนของสารริเริ่มเกิดขึ้นพร้อมกับแคตไอออน (ภาพที่ 3-10 (ข)) เมื่อแอนไอออนมาพบกับ
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
สายโซ่ Carbocation อิเล็กตรอนในแอนไอออนจะดึงไฮโดรเจนอะตอมในหมู่เมทิลเกาะที่
Carbocation หลุดออกจากพันธะไปอยู่กับแอนไอออนเดิมซึ่งตอนนี้จะกลายเป็นสารประกอบ
เชิงซ้อน AlCl 3 กับนํ้า เสมือนย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น และสามารถริเริ่มปฏิกิริยาได้ต่อไป ดัง
แสดงในภาพที่ 3-12
(3) การเกิดปฏิกิริยากับแอนไอออนของสารริเริ่มปฏิกิริยา แต่แตกต่างจากข้อ (2) อะตอมคลอไรด์
ในแอนไอออนถ่ายโอนไปอยู่กับสายโซ่ Carbocation ทําให้กลายเป็นพอลิเมอร์ที่มีคลอไรด์อยู่
ด้วย และเกิดโมเลกุลใหม่ AlCl 2OH แต่ไม่สามารถริเริ่มปฏิกิริยาได้อีก ดังแสดงในภาพที่ 3-13
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right