Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
54
ต่อเนื่องจนได้สายโซ่โมเลกุลยาว จึงเรียกปฏิกิริยานี้ว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain reaction) ดังแสดงใน
ภาพที่ 3-4
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-4 การเติมมอนอเมอร์ในขั้นการแผ่โซ่จนได้สายโซ่โมเลกุลขนาดใหญ่
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://pslc.ws/welcome/tour/macrog/radical.htm
ขั้นสิ้นสุดโซ่ (Termination step)
อนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลอยู่ในสภาพไม่เสถียรจึงพยายามหาอิเล็กตรอนมาคู่ด้วย เพื่อสร้างพันธะกับ
อะตอมหรือโมเลกุลอื่นโดยไม่เหลืออิเล็กตรอนขาดคู่อีกต่อไป ซึ่งเป็นขั้นสิ้นสุดโซ่ของอนุมูลอิสระ
การดึงอิเล็กตรอนมาคู่กับอิเล็กตรอนอิสระในอนุมูลอิสระมีหลายวิธี ดังนี้
(1) การคู่ควบ (Coupling) เป็นการจับคู่กันของอิเล็กตรอนอิสระในอนุมูลอิสระ 2 ตัวเกิดเป็นพันธะ
โควาเลนต์และผลลัพธ์ได้โมเลกุลหรือสายโซ่โมเลกุลที่เสถียร ดังแสดงในภาพที่ 3-5 การคู่
ควบเป็นวิธีที่พบมากที่สุด ซึ่งมักเกิดแบบสุ่มระหว่างอนุมูลอิสระที่มีขนาดต่างๆ ทําให้สายโซ่
พอลิเมอร์ที่ได้มีขนาดแตกต่างกัน
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-5 การสิ้นสุดของการเกิดพอลิเมอร์ด้วยวิธีคู่ควบ
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://pslc.ws/welcome/tour/macrog/radical.htm
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right