Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
58
สารริเริ่มปฏิกิริยาที่ใช้ เรียกว่า Friedel-Craft agent ประกอบด้วยอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ (AlCl 3)
หรือไทเทเนียมเททระคลอไรด์ (TiCl 4) กับนํ้า เริ่มต้นด้วย AlCl 3 ทําปฏิกิริยากับนํ้า ตามกฎออคเท็ต
(Octet rule) อะลูมิเนียมด้วยต้องการอิเล็กตรอน 8 ตัวในออร์บิทอลชั้นนอกสุด แต่ขณะนี้มีจริงเพียง
6 ตัว ยังขาดอีก 2 ตัว ในขณะที่โมเลกุลนํ้ามีอิเล็กตรอน 2 คู่ที่ไม่ได้ร่วมกับใคร (Unshared pair of
electron) จึงถ่ายโอนไปให้อะลูมิเนียม 1 คู่เพื่อให้ครบตามกฎออคเท็ต ได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อน
AlCl 3 กับนํ้า ดังแสดงในภาพที่ 3-10 (ก) แต่เนื่องจากออกซิเจนมีคุณสมบัติชอบมีประจุลบ หรือ
Electronegative จึงพยายามดึงอิเล็กตรอนที่ร่วมกับไฮโดรเจน ทําให้ไฮโดรเจนมีประจุบวกเล็กน้อย
ประกอบกับพันธะคู่คาร์บอน-คาร์บอนในมอนอเมอร์ให้อิเล็กตรอนได้ง่าย จึงเกิดพันธะกับไฮโดรเจน
และกลายเป็นโมเลกุลที่มีประจุบวก ในขณะที่สารประกอบเชิงซ้อนของสารริเริ่มปฏิกิริยากลายเป็น
แอนไอออน (ภาพที่ 3-10 (ข)) แคตไอออนมีประจุบวกที่อะตอมคาร์บอน เรียกว่า Carbocation ที่
กล่าวทั้งหมดนี้เป็นขั้นริเริ่มโซ่ ต่อมามอนอเมอร์จะเข้ามาทําปฏิกิริยาให้โซ่ยาวขึ้นเรื่อยๆ เป็นขั้นการ
แผ่โซ่ ดังแสดงในภาพที่ 3-10 (ค)
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-10 การเกิดพอลิเมอร์แบบแคตไอออน ประกอบด้วย (ก) การเกิดสารประกอบของสารริเริ่ม
ปฏิกิริยา (ข) ขั้นริเริ่มโซ่ และ (ค) ขั้นการแผ่โซ่
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://www.pslc.ws/mactest/level4.htm
copy right copy right copy right copy right