Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
62
ข้อดีของการเกิดพอลิเมอร์แบบแอนไอออน คือ พอลิเมอร์ที่ได้มีนํ้าหนักโมเลกุลใกล้เคียงกัน จึงเรียก
พอลิเมอร์นี้ว่า Monodisperse polymer ซึ่งแตกต่างจากพอลิเมอร์ทั่วไปที่มีนํ้าหนักโมเลกุลกระจาย
ค่ากัน จึงเรียกว่า Polydisperse polymer
4.2 การเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น (Condensation polymerization)
ั
การเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น เป็นปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟงก์ชันอย่างน้อย 2 หมู่
ั
เมื่อควบแน่นกันแล้วให้หมู่ฟงก์ชันใหม่ที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์นั้น และมีการกําจัด
โมเลกุลขนาดเล็กออกมาด้วย เช่น นํ้า เมทานอล เป็นต้น การเกิดปฏิกิริยามีลักษณะเป็นทีละขั้นจึง
เรียกการเกิดพอลิเมอร์นี้อีกชื่อว่า การเกิดพอลิเมอร์แบบขั้น หรือ Step-wise polymerization
4.2.1 การควบแน่นระหว่างกรดกับแอมีน
การเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่นระหว่างกรดกับแอมีน เป็นการสังเคราะห์พอลิแอไมด์ (PA) หรือ
ั
Nylon กรดและแอมีนต้องมีหมู่ฟงก์ชันอย่างน้อย 2 หมู่ จึงใช้กรดไดคาร์บอกไซลิก (Dicarboxylic
acid) กับไดแอมีน (Diamine) ดังแสดงในภาพที่ 3-15
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-15 การสังเคราะห์ Nylon จากกรดไดคาร์บอกไซลิกกับไดแอมีน
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://askmichellechemistry.blogspot.com/2012_04_01_archive.html
ตัวอย่างการสังเคราะห์ Nylon 66 จากกรดแอดิพิก (Adipic acid) กับ 1,6-ไดแอมิโนเฮกเซน (1,6-
Diaminohexane) หรือ เฮกซาเมทิลีนไดแอมีน (Hexamethylene diamine) ปฏิกิริยาควบแน่นนี้กรด
แอดิพิกจะทําหน้าที่เป็นทั้งมอนอเมอร์และตัวเร่งปฏิกิริยาด้วย ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยามีดังนี้
(1) ขั้นที่ 1 เริ่มจากกรด 2 โมเลกุลทําปฏิกิริยากันก่อน โดยโมเลกุลหนึ่งจะให้โปรตอน เรียกว่า
Protonation ไปที่ออกซิเจนในหมู่คาร์บอกซิลของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทําให้มีประจุบวกซึ่งเป็น
สภาพที่ไม่เสถียร (ภาพที่ 3-16)
copy right copy right copy right copy right