Page 76 -
P. 76
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
64
(3) ขั้นที่ 3 เริ่มจากไฮโดรเจนในหมู่ไฮดรอกซิลถ่ายโอนอิเล็กตรอนมาให้ออกซิเจน และหลุด
+
ออกไปเป็น H สามารถให้โปรตอนกับโมเลกุลกรดและริเริ่มปฏิกิริยาต่อไป ส่วนออกซิเจนเมื่อ
ได้อิเล็กตรอนมาจะเกิดพันธะกับคาร์บอนและกลายเป็นพันธะคู่ C=O กลับไปเหมือนตอน
เริ่มต้น สําหรับการถ่ายโอนอิเล็กตรอนที่หมู่ OH เริ่มจากออกซิเจนดึงอิเล็กตรอนจากพันธะ
กับคาร์บอนแล้วถ่ายโอนมาที่ไฮโดรเจนที่หมู่แอมีน ทําให้ไฮโดรเจนหลุดออกมาสร้างพันธะกับ
OH ได้เป็นโมเลกุลนํ้า ไฮโดรเจนที่หลุดออกมานี้ทิ้งอิเล็กตรอนไว้กับไนโตรเจน ทําให้ได้
โมเลกุลไดเมอร์ (Dimer) ที่ปลายทั้ง 2 ด้านมีหมู่กรดและแอมีนสามารถเกิดปฏิกิริยาต่อไปจน
ได้พอลิเมอร์ (ภาพที่ 3-18)
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-18 การแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนระหว่างการควบแน่นได้ไดเมอร์ของ Nylon 66
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://www.pslc.ws/macrog/nysyn.htm
4.2.2 การควบแน่นระหว่างกรดกับแอลกอฮอล์
การควบแน่นระหว่างกรดกับแอลกอฮอล์เป็นการสังเคราะห์พอลิเอสเทอร์ มอนอเมอร์ที่ใช้ต้องมีหมู่
ฟงก์ชันอย่างน้อย 2 หมู่ พอลิเอสเทอร์ที่สําคัญในอุตสาหกรรมการบรรจุ ได้แก่ PET, PEN และ PC
ั
คุณลักษณะของพอลิเอสเทอร์ คือ สายโซ่หลัก (Backbones) ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะ
copy right copy right copy right copy right