Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
53
อิเล็กตรอนที่ขาดคู่นี้จะพยายามหาอิเล็กตรอนจากแหล่งใกล้เคียงมาคู่ด้วย นั่นคืออนุมูลอิสระ
มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาหรือสร้างพันธะกับอะตอมอื่นต่อไป
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-2 การแตกตัวของ Benzoyl peroxide เป็นอนุมูลอิสระ
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://pslc.ws/welcome/tour/macrog/radical.htm
(2) การเติมมอนอเมอร์ (Addition of monomer) เริ่มด้วยอนุมูลอิสระเข้าไปดึงอิเล็กตรอนออกจาก
พันธะที่พันธะคู่ของคาร์บอน-คาร์บอนในไวนิลมอนอเมอร์ เนื่องจากอิเล็กตรอนในพันธะนี้ดึง
ออกมาได้ง่ายที่สุด อิเล็กตรอนที่ได้มาจับคู่กับอิเล็กตรอนอิสระในอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นการเติม
มอนอเมอร์ให้อนุมูลอิสระ ในขณะที่อิเล็ตรอนที่เหลืออีก 1 ตัวขาดคู่และอยู่ที่อะตอมคาร์บอน
อีกตัว จึงทําให้โมเลกุลที่ได้ยังคงเป็นอนุมูลอิสระต่อไปแต่ขนาดใหญ่ขึ้น กลไกปฏิกิริยาแสดง
ในภาพที่ 3-3
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ภาพที่ 3-3 การเติมมอนอเมอร์ให้อนุมูลอิสระ
ที่มา: ดัดแปลงจาก http://pslc.ws/welcome/tour/macrog/radical.htm
ขั้นการแผ่โซ่ (Propagation step)
อนุมูลอิสระที่ได้จากขั้นริเริ่มโซ่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาจึงพยายามหาอิเล็กตรอนมาคู่ด้วย เมื่อมี
มอนอเมอร์ตัวใหม่เข้ามาใกล้ จึงเกิดการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนระหว่างอนุมูลอิสระและพันธะคู่
คาร์บอน-คาร์บอนในมอนอเมอร์ทํานองเดียวกับที่กล่าวข้างต้น เป็นการเติมมอนอเมอร์เข้าไปอย่าง
copy right copy right copy right copy right