Page 157 -
P. 157
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
145
จุดหลอมเหลวตํ่า ประมาณ 110-120 องศาเซลเซียส
จุดอ่อนตัวตํ่า ทําให้ปิดผนึกด้วยความร้อนได้ง่าย ความแข็งแรงรอยปิดผนึกดี
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
อุณหภูมิคล้ายแก้วตํ่ามาก ประมาณ -60 ถึง -100 องศาเซลเซียส
ดูดซับหมึกพิมพ์ตํ่า ทําให้พิมพ์ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีการปรับปรุงสภาพผิว เช่น การ
ใช้โคโรนาเพิ่มพลังงานผิว (Surface energy)
LDPE ใช้ในรูปฟิล์มมากที่สุด ความหนาที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วง 15-250 ไมโครเมตร ทั้งฟิล์มชั้นเดียว
ฟิล์มยืด (Stretch film) ฟิล์มหด (Shrink film) และฟิล์มหลายชั้น โดยกรณีหลังนี้มักใช้ LDPE เป็น
ชั้นปิดผนึกด้วยความร้อน นอกจากนี้ยังใช้ LDPE เคลือบหรือลามิเนตเพื่อผลิตวัสดุหลายชั้น การ
่
ผลิตฟิล์ม LDPE นิยมใช้กระบวนการเปา (Blown film process)
การใช้งานทั่วไปของ LDPE ได้แก่ ถุงเย็นที่จําหน่ายทั่วไป ถุงข้าวสาร ถุงนํ้าตาลทราย ถุงหูหิ้วใส่
ั
สินค้า ถุงนํ้าแข็งยูนิต ถุงขนมปง ฟิล์มยืดห่ออาหาร ฟิล์มหดรัดสินค้า ขวดนํ้าผลไม้ ขวดนํ้าสมุนไพร
ขวดนมพาสเจอไรซ์ หลอดยุบตัวได้ (Collapsible tube) หรือขวดบีบได้ (Squeezable bottle) LDPE
เหมาะสําหรับการบรรจุอาหารแช่แข็งมาก เนื่องจาก LDPE ทนทานต่ออุณหภูมิตํ่าได้ดีมาก แต่ไม่
เหมาะกับการบรรจุอาหารร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส และไม่เหมาะกับการบรรจุอาหาร
ที่มีไขมันมาก เนื่องจากไขมันจะซึมผ่านพลาสติกนี้ออกมาได้
ในกระบวนการผลิต LDPE มักได้ MDPE ด้วย ซึ่งเป็น PE แบบกิ่งและมีสมบัติคล้าย LDPE มาก
้
แต่เนื่องจาก MDPE มีค่าความหนาแน่นสูงกว่า จึงมีความแข็งแรงและปองกันการซึมผ่านของก๊าซ
และไอนํ้าได้ดีกว่า LDPE แต่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมน้อยกว่า ที่พบมากใช้ในรูปฟิล์มและชั้นปิด
copy right copy right copy right copy right
ผนึกด้วยความร้อนของรีทอร์ตเพาช์ (Retort pouch) หรือถุงต้มได้ (Boil-in-bag)
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
1.5 พอลิเอทิลีนสายโซ่เชิงเส้น (Linear chain Polyethylene)
1.5.1 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High density Polyethylene หรือ HDPE)
HDPE เป็นพลาสติกที่มีการใช้มากเป็นอันดับ 2 รองจาก LDPE เป็นโฮโมพอลิเมอร์ได้จากการเกิด
พอลิเมอร์ของมอนอเมอร์เอทิลีน ผลิตด้วยกระบวนการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกลอร์-นัตตา มากที่สุด
และเริ่มมีการใช้เมทัลโลซีนบ้าง มีโครงสร้างเชิงเส้นทําให้เกิดผลึกได้มากกว่า LDPE ความเป็นผลึก
อยู่ในช่วงร้อยละ 65-90 ความหนาแน่นสูงอยู่ในช่วง 0.9410-0.9650 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
การที่ HDPE มีความหนาแน่นและความเป็นผลึกสูงกว่า LDPE ทําให้มีคุณสมบัติทางการบรรจุ
แตกต่างจาก LDPE ที่สําคัญ ได้แก่
มีลักษณะขาวขุ่นจนถึงทึบแสงเมื่อมีความหนามาก เนื่องจากความเป็นผลึกสูง
ความแข็งแรงเชิงกลสูงกว่า
copy right copy right copy right copy right