Page 161 -
P. 161
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
149
อุตสาหกรรมใช้ mPE แทน LLDPE มากขึ้นตามลําดับ สําหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงสูงขึ้น
และเมื่อต้องการ PE ที่มีคุณสมบัติเฉพาะหรือปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน เช่น ฟิล์ม mPE
สามารถผลิตให้มีค่าอัตราการซึมผ่านของก๊าซได้ตามต้องการ โดยการควบคุมปริมาณและการเรียง
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ตัวของมอนอเมอร์ร่วม และควบคุม MWD ของ mPE ฟิล์มพวกนี้ใช้บรรจุผักและผลไม้สด ซึ่ง
ต้องการสภาพให้ซึมผ่านของก๊าซค่อนข้างสูง และค่าแตกต่างกันตามชนิดของผักและผลไม้สด
1.6 พอลิเอทิลีนดัดแปร (Modified Polyethylene)
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
พอลิเอทิลีนดัดแปรในบริบทนี้ หมายความถึงพลาสติกที่ได้จากการเกิดพอลิเมอร์ของเอทิลีนเป็น
สําคัญ และมีมอนอเมอร์ร่วมที่ทําให้พลาสติกมีสมบัติเฉพาะและแตกต่างจาก PE ทั่วไป และในที่นี้
จะกล่าวถึงพอลิเอทิลีนดัดแปรที่มีสภาพมีขั้วสูงกว่า PE ปกติ
1.6.1 ไอออนอเมอร์ (Ionomer)
ไอออนอเมอร์ หมายถึง พอลิเมอร์ที่มีพันธะเชิงไอออน (Ionic bond) เชื่อมระหว่างโซ่แกนโมเลกุล
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพอลิเมอร์ร่วม โดยโซ่แกนโมเลกุลจะประกอบด้วยมอนอเมอร์เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ
โควาเลนต์ มอนอเมอร์ร่วมที่นิยมใช้ ได้แก่ เอทิลีนกับกรดอะคริลิก หรือ เอทิลีนกับกรดเมทะคริลิก
หมู่ไฮดรอกซิล (OH) ในหมู่คาร์บอกไซลิก (COOH) สามารถแตกตัวทําให้เกิดประจุลบที่อะตอม
ออกซิเจน เมื่อเติมไอออนของโลหะลงไปจะเกิดพันธะเชิงไอออนกับออกซิเจนได้เพื่อทําให้เป็นกลาง
+
(Neutralization) แล้วเปลี่ยนเป็นเกลือของโลหะนั้น โลหะที่ใช้กันมากได้แก่ โซเดียม (Na ) สังกะสี
+
++
(Zn ) และลิเทียม (Li ) พันธะเชิงไอออนเชื่อมระหว่างโซ่แกนของพอลิเมอร์มีลักษณะคล้ายพันธะ
ไขว้ ดังแสดงในภาพที่ 6-12
พันธะเชิงไอออนมีลักษณะคล้ายพันธะไขว้ แต่แข็งแรงน้อยกว่าพันธะไขว้โควาเลนต์ในพอลิเมอร์
copy right copy right copy right copy right
ทั่วไป ทําให้ไอออนอเมอร์ยังคงคุณสมบัติของเทอร์มอพลาสติก บางครั้งจึงเรียกไอออนอเมอร์ว่า
เทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ (Thermoplastic elastomer) เมื่อให้ความร้อนพันธะเชิงไอออนจะ
อ่อนตัวลงในขณะที่พันธะพันธะโควาเลนต์ในโซ่แกนยังคงความแข็งแรงอยู่ เหตุผลดังกล่าวนี้ทําให้
ไอออนอเมอร์มีคุณสมบัติดีกว่า PE หลายประการ ได้แก่ ความแข็งแรงขณะหลอม ความเหนียว
ความต้านทานแรงกระแทก ความต้านทานแรงดันทะลุ และความยืดหยุ่น นอกจากนี้พันธะเชิง
ไอออนยังทําให้ความเป็นผลึกของพอลิเมอร์ตํ่าลงทําให้โปร่งใสกว่า PE
โดยทั่วไปไอออนอเมอร์มีอนุมูลกรดในโซ่แกนโมเลกุลประมาณร้อยละ 7-30 ของนํ้าหนัก และร้อยละ
15-80 ของกรดที่ทําปฏิกิริยากับไอออนโลหะ เมื่อปริมาณกรดและความเป็นกลางเพิ่มขึ้นจะทําให้
ไอออนอเมอร์มีความแข็งแรงขณะหลอม ความเหนียว ความต้านทานแรงดึง มอดุลัส ความโปร่งใส
และความทนทานไขมันสูงขึ้น แต่จุดหลอมเหลวลดลงและความต้านทานแรงฉีกลดลง
copy right copy right copy right copy right