Page 160 -
P. 160
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
148
คุณสมบัติและการใช้งานของ ULDPE คล้าย LLDPE มาก แต่มีข้อดีกว่าที่จุดอ่อนตัวตํ่ากว่าทําให้
เหมาะสมกับการใช้เป็นฟิล์มปิดผนึกด้วยความร้อนที่ต้องการความเร็วสูง Hot tack สูงและปิดผนึก
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ผ่านของเหลวและผงละเอียดได้ดี และนิยมใช้บรรจุผักและผลไม้สดเนื่องจากสภาพให้ซึมผ่านของ
ก๊าซสูง นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นฟิล์มยืดและฟิล์มหดที่ใช้ห่อสินค้าเพื่อการขนส่ง นอกเหนือไปจาก
การใช้บรรจุสินค้าเพื่อการค้าปลีก เนื่องจากความยืดสูงและหดตัวได้ที่อุณหภูมิตํ่ากว่า LLDPE
1.5.4 เมทัลโลซีนพอลิเอทิลีน (Metallocene Polyethylene หรือ mPE)
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
ราว ค.ศ. 1990 มีการนําตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนมาใช้ผลิตพอลิเมอร์ร่วมของแอลฟาโอเลฟินส์
(-Olefin) นิยมเรียก PE ที่ได้ว่า เมทัลโลซีนพอลิเอทิลีน หรือ mPE ในอดีตจะใช้ผลิต PE ความ
หนาแน่นตํ่าคล้าย LLDPE เป็นหลัก ต่อมาเทคโนโลยีได้พัฒนาจนสามารถใช้ผลิต HDPE, PP และ
ั
PS จนถึงปจจุบันยังคงพัฒนาต่อเนื่องทําให้สามารถผลิตพลาสติกที่มีสมบัติตรงความต้องการของ
อุตสาหกรรมและผู้ใช้
ตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนควบคุมให้มอนอเมอร์เข้ามาเชื่อมต่อในสายโซ่ได้ที่ตําแหน่งเฉพาะและ
เพียงตําแหน่งเดียว จึงมักเรียกว่า Single-site catalyst (SST) ทําให้พลาสติกที่ได้มีขนาดโมเลกุล
ใกล้เคียงกัน สัดส่วนสายโซ่ขนาดใหญ่มากกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกลอร์-นัตตา และ MWD
แคบกว่า สามารถควบคุมปริมาณมอนอเมอร์ร่วมในโซ่โมเลกุลได้ตามต้องการ และควบคุมการเรียง
ตัวของมอนอเมอร์ร่วมให้เป็นระเบียบและสมํ่าเสมอได้ ทําให้สามารถผลิตพลาสติกที่มีคุณสมบัติได้
ตามต้องการมากขึ้น และมีความหนาแน่นตํ่าได้ถึง 0.8640 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร นอกจากนี้
การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนทําให้ลดปริมาณมอนอเมอร์ร่วมที่ใช้สําหรับผลิต PE ที่กําหนดค่า
ความหนาแน่น
คุณสมบัติของ mPE ที่ดีกว่า LLDPE ได้แก่ ความใส ความต้านทานแรงดึง ความต้านทานแรงฉีก
และการแพร่กระจายหรือไมเกรชันตํ่า นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนยังใช้ผลิตพอลิเมอร์ร่วม
PE ที่ใช้ออกทีนเป็นมอนอเมอร์ร่วมได้ดี ในขณะตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกลอร์-นัตตาผลิตไม่ได้ พอลิเมอร์
ร่วมนี้มีโซ่กิ่งที่ใหญ่จึงใช้เป็นฟิล์มปิดผนึกด้วยความร้อนได้ดีและใช้อุณหภูมิปิดผนึกตํ่ากว่า LLDPE
ฟิล์ม mPE สามารถผลิตให้มีความหนาตํ่ากว่าฟิล์ม LLDPE ได้ เนื่องจาก mPE มีสายโซ่ขนาดใหญ่
สัดส่วนสูงกว่าและ MWD แคบ ทําให้มีความแข็งแรงสูงกว่า จึงสามารถลดความหนาของฟิล์มลงได้
ทําให้ต้นทุนลดลง ฟิล์ม mPE นิยมใช้เป็นชั้นปิดผนึกด้วยความร้อนของวัสดุลามิเนต มีค่า Hot tack
สูงและเกิดแรงยึดที่รอยปิดรวดเร็ว เหมาะกับเครื่องจักรที่มีความเร็วสูง
copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right