Page 153 -
P. 153
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
141
1.2 คุณลักษณะ (Characteristics) สําคัญของ PE
1.2.1 ความหนาแน่น
ความหนาแน่นของ PE เป็นคุณลักษณะสําคัญที่เป็นผลมาจากการเกิดพอลิเมอร์และมีอิทธิพลสูงต่อ
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
สมบัติของ PE นอกจากนี้ยังใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งชนิดของ PE ที่ใช้ในอุตสาหกรรม การวัดค่า
ความหนาแน่นของ PE จะต้องแม่นยําถึงทศนิยมตําแหน่งที่ 3 และควรแสดงค่ามีความละเอียดถึง
ทศนิยมตําแหน่งที่ 4 สําหรับหน่วยกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
การวัดค่าความหนาแน่นของพลาสติก ตามมาตรฐาน ASTM D-1505 อาศัยหลักการแรงลอยตัวของ
วัตถุในสารละลายผสมที่มีความหนาแน่นลดหลั่นกันในแต่ละตําแหน่งในคอลัมน์ที่บรรจุสารละลาย
นั้นและเก็บในสภาพควบคุมอุณหภูมิ ความหนาแน่นของสารละลายหาได้จากค่าความหนาแน่นของ
ลูกแก้วมาตรฐานที่ทราบค่าความหนาแน่น เมื่อหย่อนลูกแก้วในคอลัมน์ลูกแก้วจะจมลงในสารละลาย
และหยุดเมื่อแรงลอยตัวเท่ากับนํ้าหนักลูกแก้ว นั่นคือความหนาแน่นของสารละลายที่ตําแหน่งนั้นมี
ค่าเท่ากับความหนาแน่นของลูกแก้ว เราสามารถเตรียมกราฟมาตรฐานระหว่างตําแหน่ง (ระดับ
ความสูง) สารละลายในคอลัมน์กับค่าความหนาแน่น และสามารถเตรียมสารละลายผสมให้มีช่วงค่า
ความหนาแน่นได้ตามต้องการ ตัวอย่างสารละลายและค่าความหนาแน่นดังแสดงในตารางที่ 6-1
ตารางที่ 6-1 สารละลายผสมสําหรับใช้หาค่าความหนาแน่นของวัตถุของแข็ง
3
Solution A Solution B Density range (g/cm )
Methanol Benzyl alcohol 0.80-0.92
Isopropanol Water 0.79-1.00
Isopropanol Diethylene glycol 0.79-1.11
copy right copy right copy right copy right
Ethanol
0.79-1.59
Carbon tetrachloride
Toluene Carbon tetrachloride 0.87-1.59
Water Sodium bromide 1.00-1.41
Water Calcium nitrate 1.00-1.60
Carbon tetrachloride Trimethylene dibromide 1.60-1.99
Trimethylene dibromide Ethylene bromide 1.99-2.18
Ethylene bromide
Bromoform
2.18-2.89
ที่มา: ASTM D-1505
นําพลาสติกตัวอย่างมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเม็ดพลาสติกหย่อนลงในคอลัมน์ นําค่าตําแหน่งที่ชิ้น
ตัวอย่างหยุดและลอยอยู่มาเทียบกับค่าที่ได้จากกราฟมาตรฐาน ภาพที่ 6-9 แสดงตัวอย่างขั้นตอน
การหาค่าความหนาแน่นของเม็ดพลาสติก
copy right copy right copy right copy right