Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                          5



                                  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลปะ

                   และวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่งดงามตระการตาและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การศึกษา ศิลปะ

                   วัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจที่สะท้อนให้ร าลึกถึงสภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวัง

                   วัดวาอาราม ป้ อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวพระนครกรุงศรีอยุธยาในอดีต


                   ซึ่งนครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้ง

                   ชุมชนในบริเวณที่มีแม่น ้าสามสายมาบรรจบกัน  เป็นแหล่งเกษตรกรรมและแหล่งผลิตและสั่งสมอาหาร

                   อันอุดมสมบรูณ์พร้อมไปกับการเป็นปราการธรรมชาติในการป้ องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้น

                   ผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยาน

                   แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในภูมิภาค

                   เอเชีย (http://www.thaiwhic.go.th/heritage_culture2.aspx) ดังที่ปรากฏ



                          3.  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  (Ban Chieng Archaeological Site, 1992) เป็นแหล่งโบราณคดี

                   ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช 2535  จากการประชุมคณะกรรมการ

                   มรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 16  ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  มี

                   คุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อ 3 คือ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรือ
                   อารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่

                   อ าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้แสดงให้รับรู้ถึงการด ารงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลัง

                   ไปกว่า 4,300 ป ี เกี่ยวกับร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มี

                   พัฒนาการมาแล้วในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือ
                   ส าหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถด ารงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมา

                   เป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                   อีกมากกว่าร้อยแห่ง  เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง
                   องค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งใน

                   บรรดามรดกโลก (http://www.thaiwhic.go.th/heritage_culture3.aspx)



                          แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของไทย 2 แห่ง ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็น

                   มรดกโลก คือ (http://www.thaiwhic.go.th/heritage_nature.aspx และ

                   http://travel.sanook.com/1081130)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30