Page 174 -
P. 174

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        7-9




                                  ใน พ.ศ.  2503  ประมาณว่ามีพื้นที่ที่ได้รับการชลประทาน 9  ล้านไร่ การด้าเนินงานตาม

                   โครงการชลประทานในระยะหกปีจะช่วยให้มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานประมาณ 12 ล้าน
                   ไร่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งสิ้นของประเทศในขณะนี้

                                  อนึ่ง เมื่อการก่อสร้างตามโครงการชลประทานได้ผลบริบูรณ์ และสามารถจ่ายน้้าให้แก่
                   เกษตรกรโดยทั่วถึงในท้องที่เขตของการชลประทานแล้ว ก็ควรจะได้มีการเก็บค่าน้้าจากเกษตรกรในท้องที่

                   นั้นๆ เป็นค่าบ้ารุงรักษาอุปกรณ์การชลประทานด้วย จะเป็นการแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการบ้ารุงรักษาของ

                   รัฐบาลได้เป็นอันมาก เพราะค่าใช้จ่ายในการบ้ารุงรักษานับวันจะเพิ่มมากขึ้นทุกที โดยวิธีนี้รัฐบาลจะ
                   สามารถเจียดจ่ายเงินไปก่อสร้างงานชลประทานให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกได้”  (ส้านักงานสภาพัฒนาการ

                   เศรษฐกิจแห่งชาติ, 2503: 51–52)
                                  วันที่ 24  มิถุนายน 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จ

                   พระราชด้าเนินทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก (กรมชลประทาน, 2529: 388)

                                  วันที่  27  มีนาคม  2505  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคันและคูน้้า  พ.ศ.  2505
                   ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  79 ตอนที่  29 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่

                   พระราชบัญญัติคันนาและคูน้้า  พุทธศักราช  2484  ไม่มีผลตามเจตนาที่ตรากฎหมายนั้นขึ้นไว้  เพราะใน

                   ปัจจุบันนี้การเกษตรกรรมบางท้องที่  ไม่ได้ท้านาอย่างเดียว  แต่มีทั้งการท้าไร่  และการท้านา  ในทุ่งเดียวกัน
                   ในเวลาเดียวกัน ฉะนั้นจึงจ้าเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัติคันและคูน้้าขึ้นใหม่ แทนพระราชบัญญัติคันนา

                   และคูน้้าที่ยกเลิกไป
                                  วันที่ 19  ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของ

                   รัฐบาล คณะที่ 30 ต่อรัฐสภา มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน ดังนี้

                                         “รัฐบาลจะด้าเนินการพัฒนาประเทศในกิจการอันเป็นสาขาที่มีความส้าคัญ คือ
                   การชลประทาน การทางหลวง การทรัพยากรธรณี การพัฒนาที่ดิน การพลังงาน กับการสหกรณ์ ซึ่งได้มา

                   รวมและก่อตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเพื่อให้มีการประสานงาน และควบคุมการตรวจสอบผลงาน โดยมี
                   ประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะรัฐบาลถือว่าโครงการพัฒนาต่างๆ อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งจ้าเป็น

                   ยิ่งเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น” (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2504: 155)

                                  ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระยะที่สอง (พ.ศ. 2507-2509) มีนโยบาย
                   เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรน้้าในบทที่ 6 การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ดังนี้

                                         “(3) เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นคุณค่าในการเกษตร อันได้แก่เนื้อที่ดิน

                   ป่าไม้ น้้า และอื่นๆ เพื่อให้น้ามาใช้ให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยแท้จริงและถาวร โดยค้านึงถึงหลักอนุรักษ์
                                         โดยมีแนวทางด้าเนินการ ดังนี้

                                         (1)  เร่งสร้างรากฐานเพื่อพัฒนาการเกษตร ได้แก่ การชลประทาน พลังงาน

                   การขนส่ง และคมนาคม ส้าหรับการชลประทาน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเก็บน้้าขนาดใหญ่ขึ้นในภาคเหนือ
                   คือเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก และเขื่อนท่าปลา ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนระบายน้้า ที่แม่น้้าแม่กลอง
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179