Page 141 -
P. 141
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5-7
3.1 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพให้เป็นฐานการ
ผลิตทางเกษตรและทรัพยากรไว้ส าหรับอนาคตโดยจะเน้น
3.1.1 การคุ้มครองเขตเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์เป็น
พิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่รัฐบาลได้ลงทุนระบบชลประทานและบริการขั้นพื้นฐานไปแล้วเป็นจ านวน
มาก ให้สามารถท าการเกษตรต่อไปตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อป้องกันการรุกล้ าและการเก็งก าไรน าที่ดินไป
ใช้ในกิจกรรมอื่นๆโดยมีมาตรการ ดังนี้
(1) พิจารณาเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้ากับ
ผู้ที่ถือครองที่ดินในเขตการเกษตรไว้ โดยมิได้ใช้ประโยชน์หรือน าไปใช้กิจกรรมอื่น ตลอดจนพิจารณาน า
ระบบการเก็บภาษีจากผู้ที่ได้ประโยชน์จากราคาทรัพย์สินที่สูงขึ้น เนื่องจากอยู่ใกล้โครงสร้างพื้นฐาน
การเกษตรที่รัฐพัฒนาขึ้นเพื่อกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาให้เท่าเทียมกัน
(2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องให้มีผลในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทาน เพื่อสงวนพื้นที่ดังกล่าวมิให้เปลี่ยน
สภาพการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมอื่น
3.1.2 สนับสนุนการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ
เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบการเกษตรด้วยกันและผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น ชาวนากับผู้เลี้ยงกุ้ง
และชาวนากับผู้ท านาเกลือ เป็นต้น โดยใช้มาตรการจูงใจต่างๆ เช่น การใช้สินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน
3.1.3 วางแผนการใช้ที่ดินเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
นั้นอย่างชัดเจน โดยสนับสนุนให้มีกฎหมายรองรับเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ของที่ดิน” (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2534: 42)
วันที่ 21 ตุลาคม 2535 นาย ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของรัฐบาล
คณะที่ 50 ต่อรัฐสภา โดยมีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ 4.8.1
ว่าจะก าหนดเขตการใช้ที่ดินให้เหมาะสมโดยค านึงถึงสมรรถนะของดิน และศักยภาพของพื้นที่เช่นเขตพื้นที่
เกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (ส านักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร, 2540: 400)
วันที่ 4 เมษายน 2535 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้
“มาตรา 43 ในกรณีที่ปรากฏว่าพื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ า ล าธาร หรือมี
ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูก
ท าลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่า
ทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ และพื้นที่นั้นยังมิได้ถูกประกาศก าหนดให้เป็นเขต
อนุรักษ์ให้รัฐมนตรีโดยค าแนะน าของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอ านาจออกกฎกระทรวง
ก าหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม