Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5-12
เกษตรกรรมของประเทศไทย และสาระส าคัญที่ควรก าหนดไว้ใน (ร่าง) พระราชบัญญัติการคุ้มครองพื้นที่
เกษตรกรรม พ.ศ. .... สรุปได้ ดังนี้
1. รัฐต้องก าชับและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างเข้มงวดและเคร่งครัด เพื่อสงวนและรักษาที่ดินไว้เป็นสมบัติของไทย
อย่างยั่งยืน
2. รัฐต้องเร่งด าเนินการให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพื้นที่
เกษตรกรรม เพื่อเป็นการสงวนพื้นที่ของประเทศไทย ที่มีคุณลักษณะของสภาพพื้นที่เหมาะสม หรือมีการ
จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการชลประทานที่เหมาะสมไว้ส าหรับการท าการเกษตรและเพื่อการ
เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
3. ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เห็นควรก าหนดเหตุผลในการออกกฎหมาย ดังนี้
"เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ดินจึงเป็นปัจจัยส าคัญและเป็นรากฐานของการผลิตทางการเกษตร ซึ่ง
จ าเป็นต้องบ ารุงรักษาและฟื้นฟูดิน รวมทั้งพัฒนาให้เหมาะสมแก่การประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนและน าไปสู่การ
เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ส าคัญของโลก และจากผลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ท าให้มีการน าที่ดินที่
เหมาะสมกับการเกษตรไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นเจ้าของที่ดินแทนคนต่างด้าวด้วยประการใดๆ ซึ่งอาจเกิด
ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ประกอบกับยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
พื้นที่เกษตรกรรมในลักษณะที่เป็นองค์รวม ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรสูญเสียที่ดิน และเพื่อควบคุมการใช้ที่ดินให้
เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเกษตรกรรม อันจะมีผลกระทบต่อศักยภาพการผลิตด้านการเกษตรและต่อความมั่นคงทาง
อาหารของประเทศ ตลอดจนเพื่อควบคุมการใช้ที่ดิน ให้เกิดประโยชน์ด้านเกษตรกรรมอย่างเต็มที่ จึงจ าเป็นต้องตรา
พระราชบัญญัตินี้ขึ้น"
4. ในค าจ ากัดความค าว่า "พื้นที่เกษตรกรรม" ใน (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ควรมี
การพิจารณาให้ความหมายครอบคลุมกิจกรรมการเกษตรทุกประเภท และควรหมายรวมถึงภารกิจที่เป็น
การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับประเภทกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่นั้นด้วย และสามารถสื่อ
ความหมายให้ชัดเจนว่าเป็นกิจการประเภทใด ขนาดของกิจการ ความสามารถในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง
5. ควรเพิ่มสัดส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนมาจากองค์กรเกษตรกรโดยต าแหน่งใน
องค์ประกอบคณะกรรมการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และลดสัดส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนมาจากภาครัฐที่
มีสังกัดหน่วยงานเดียวกันให้เหลือเพียงผู้แทนหน่วยงานระดับสูงเพื่อสั่งการให้หน่วยงานตามสายบังคับ
บัญชาสามารถน าเสนอข้อมูลมาปฏิบัติได้
6. ในการประกาศเป็นเขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในแต่ละพื้นที่ควรเริ่มต้นมา
จากพื้นที่ท าการเกษตรที่ได้ก าหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการผังเมืองเป็นส าคัญ
7. ควรน ามาตรการทางภาษีอัตราก้าวหน้ามาใช้บังคับ กับกรณีที่ปล่อยให้ที่ดินซึ่ง
มีความเหมาะสมกับการท าการเกษตรกรรมในเขตชลประทานให้ทิ้งร้างว่างเปล่า