Page 143 -
P. 143

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        5-9


                                         ผลการศึกษาได้มีข้อเสนอให้ใช้ระบบภาษีมากระจายการถือครองที่ดินและให้มี

                   การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
                                         ต่อมาได้มีการน าผลการศึกษาดังกล่าวนี้ไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่

                   จ.เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และที่กรุงเทพมหานคร มีผลสรุปดังนี้

                                         “ควรมีการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน (Zoning)  โดยการน ากฎหมายที่เกี่ยวข้องมา
                   บังคับใช้อย่างเข้มงวดและก าหนดเขตการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและชัดเจน เช่น พื้นที่เกษตรกรรม

                   พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่ที่อยู่อาศัยร่วมกับนโยบายด้านผังเมืองโดยให้ อบต.  มีส่วนร่วมการพิจารณาเพื่อ
                   แก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงกับศักยภาพ และเก็บภาษีในอัตราที่สูงกับผู้ที่ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูก

                   กับศักยภาพหรือมีการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตที่รัฐบาลได้ลงทุนไปแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครอง

                   พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรม เช่น เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม จะไม่สามารถเข้าไปกว้านซื้อที่
                   นาในเขตชลประทาน ซึ่งมีราคาถูกเพื่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากได้ถูกก าหนดให้ใช้ประโยชน์ด้าน

                   การเกษตรเท่านั้นจ าเป็นต้องไปตั้งในเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ที่ดิน
                   เกษตรกรรมก็จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในท านองเดียวกันที่ดินไม่เหมาะสมกับการท าเกษตร แต่มีสิ่งอ านวย

                   ความสะดวกเหมาะส าหรับกิจการอุตสาหกรรมก็ควรมีการคุ้มครองเพื่อกิจการอุตสาหกรรมนั้น”

                   (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2542)
                                  ในปี 2541  ส านักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้บริษัทเทสโก จ ากัด ศึกษา

                   เรื่องการวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยก าหนดชั้นคุณภาพการใช้ที่ดิน

                   เพื่อเกษตรกรรมและก าหนดมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมจนแล้วเสร็จ แต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ
                   (ส านักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, 2541)

                                  วันที่ 7 ตุลาคม 2540 ได้มีการประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)

                                         ในบทที่ 5  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   หัวข้อ (4.1) หน้า 67 ได้กล่าวถึงการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมไว้ดังนี้
                                         “ก าหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่สมควรอนุรักษ์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ควบคู่

                   ไปกับการสร้างแรงจูงใจผ่านมาตรการด้านสินเชื่อ ภาษี และระบบตลาด เพื่อกระจายสิทธิการ
                   ถือครองที่ดินในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรแต่มิได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พร้อมทั้งให้มีกลไก

                   สนับสนุนด้านการเงิน เพื่อรับซื้อที่ดินซึ่งเจ้าของประสงค์จะจ าหน่ายจ่ายโอนและน ามาให้เกษตรกรที่ไม่มี

                   ที่ดินท ากินเช่าท าการเกษตร” (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544: 67)
                                  ในปี 2541      คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎรได้เสนอญัตติ

                   ต่อสภาผู้แทนราษฎรให้มีการศึกษากรณีให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

                                  ได้มีการจัดท าร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม พ.ศ… แล้วเสร็จในปี 2542
                   ต่อมาได้น าเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543  สภาผู้แทนได้มีมติเห็นชอบและ

                   เสนอให้รัฐบาลด าเนินการแต่ไม่มีการด าเนินการ (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2542)
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148