Page 136 -
P. 136
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5-2
หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง”
วันที่ 5 มีนาคม 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการการผังเมือง พ.ศ. 2518
มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้
“ได้ก าหนดให้มีการใช้ที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรมอยู่ด้วยในการ
ประกาศผังเมืองรวม”
วันที่ 5 มีนาคม 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้
“มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร เว้นแต่เจ้าอาคารจะได้รับใบอนุญาต
จากพนักงานท้องถิ่น ”
วันที่ 6 พฤษภาคม 2523 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรม รับไปพิจารณาด าเนินการในเรื่องการก าหนดพื้นที่ที่เหมาะสม ให้เป็นเขตท า
เกษตรกรรม ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
วันที่ 6 มกราคม 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการการคุ้มครองพื้นที่ถือครอง
ท าการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอส าหรับรายละเอียดการ
ด าเนินการมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและ
รัฐมนตรีประจ าส านักนายกรัฐมนตรี (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) ร่วมกันพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา และร่าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ด าเนินการต่อไปได้ ส าหรับใน
ส่วนที่เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้กระทรวงมหาดไทยรับไปด าเนินการให้ถูกขั้นตอนตาม
กฎหมายโดยเร็วที่สุด และเห็นชอบด้วยตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอในข้อ 2 และข้อ 3 และ
มอบให้กระทรวงมหาดไทยรับไปด าเนินการต่อไปได้
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบายและมาตรการการพัฒนา
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นโยบายดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาการใช้ที่ดินและการขยายตัวของกรุงเทพมหานครไว้ ดังนี้
“ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน
ปัญหาการบุกรุกที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร และการใช้ที่ดินบริเวณ
ชานเมืองที่ขาดแบบแผน และไม่มีประสิทธิภาพ
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ก าหนดนโยบายและมาตรการด้านการตั้งถิ่น
ฐานในเมืองไว้ในข้อที่ 3 ว่า
ถือว่าที่ดินในเมืองและโดยรอบเป็นทรัพยากรของส่วนรวมที่จะต้องมีการใช้ที่ดิน
บริเวณชานเมือง เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการวางผังเมือง หรือการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ในขั้นรายละเอียดต่อไป”