Page 135 -
P. 135

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        5-1


                                                           เรื่องที่ 5


                                  นโยบายการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและเหตุการณ์ที่ส าคัญ



                           จากการส ารวจดินของกรมพัฒนาที่ดินพบว่า ที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมมีจ านวน 168.6 ล้านไร่
                   หรือร้อยละ 52.6 ของเนื้อที่ประเทศ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2531: 6) แต่พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรดังกล่าวได้มี

                   การเปลี่ยนแปลงไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ จ านวนมาก เช่น ในช่วง พ.ศ.  2530-2532 โสภณ ชมชาญ (2538:  19)

                   ได้รายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการเกษตร ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร
                   เฉลี่ยปีละ 20,000 ไร่ ด้วยสาเหตุที่ว่าที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรมีจ ากัดแต่ประชากรเพิ่มขึ้นและจะส่งผลต่อ

                   ความมั่นคงทางอาหารของประเทศในอนาคต จึงได้มีนโยบายและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่
                   เกษตรกรรมปรากฎตามล าดับเวลาดังนี้

                                  วันที่ 19  มิถุนายน 2511  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

                   พ.ศ. 2511 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้
                                         “มาตรา 8  ให้อธิบดีมีอ านาจอนุญาตให้สมาชิกนิคมเข้าท าประโยชน์ในที่ดินของ

                   นิคมตามก าลังแห่งครอบครัวของสมาชิกนิคมนั้น แต่ไม่เกินครอบครัวละห้าสิบไร่

                                         มาตรา 9  สมาชิกนิคมจะต้องใช้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าท าประโยชน์ตาม
                   มาตรา 8 เฉพาะเพื่อท าการเกษตรตามระเบียบที่อธิบดีก าหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถ้าจะท าการอย่างอื่นด้วย

                   ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี”

                                  วันที่ 18  กันยายน 2517  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                   พ.ศ. 2517 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้

                                         “มาตรา 45  ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูป
                   ที่ดินใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์อย่างอื่นที่มิใช่เกษตรกรรม หรือท าการปลูกสร้างสิ่งใดๆ หรือท าการใดๆ

                   แก่ที่ดินนั้นอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การจัดรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก

                   คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด
                                         ในกรณีที่มีผู้ฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดมีอ านาจ

                   สั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอน ท าให้คืนสู่สภาพเดิม หรืองดเว้นการกระท านั้นภายในระยะเวลาที่ก าหนดถ้าผู้ฝ่าฝืนไม่
                   ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดด าเนินการรื้อถอน หรือท าให้คืนสู่สภาพเดิมโดยผู้ฝ่าฝืนจะ

                   เรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือท าให้คืนสู่สภาพเดิมนั้นด้วย

                                         มาตรา 52  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท .”
                                  วันที่ 5 มีนาคม 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

                   พ.ศ. 2518 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ดังนี้

                                         “มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะท าการ
                   แบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140