Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-38
เพื่อน าไปจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 1 - 2 โดยอายุเงินกู้ไม่เกินวันที่
30 มิถุนายน 2543 และกระทรวงการคลังค้ าประกันกับให้ปรับอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ การขอคิดเบี้ยปรับ
ในช่วงวันที่ 30 ธันวาคม 2540 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2541 และการใช้เงินกู้ขององค์การสวนยาง วงเงิน
1,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในโครงการฯ ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ และในระหว่างขยายระยะเวลาอายุเงินกู้ดังกล่าว ให้ส านักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เร่งรัดตรวจสอบ
และรับรองงบการเงินตามโครงการฯ โดยเร็ว และให้ส านักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชดเชยผล
ขาดทุนตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ต่อไป รวมทั้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก ากับดูแลให้องค์การ
สวนยางเสนอแผนการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมดอย่างชัดเจน และให้เสนอให้เป็นที่ยอมรับของ
กระทรวงการคลังและธนาคารกรุงไทยฯ แล้วน าเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เสร็จสิ้นก่อนครบ
ก าหนดการค้ าประกันที่ได้ขยายให้ในคราวนี้ พร้อมทั้งให้จัดตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ
พิจารณาทบทวนนโยบายแทรกแซงราคายางพาราโดยเฉพาะ ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและให้
ด าเนินการต่อไปได้
วันที่ 4 มกราคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายและมาตรการน าเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2543 โดยขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2542 เรื่อง การน าเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี
2543 จากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เกี่ยวกับก าหนดสิทธิพิเศษทางภาษีน าเข้า
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งจากประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก WTO เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2543 และให้ด าเนินการต่อไปได้ ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานคณะกรรมการนโยบายอาหารเสนอ
วันที่ 11 มกราคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการ
ประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (WTO) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม
2542 ณ นครซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการพิจารณาในเรื่องที่ส าคัญเกี่ยวกับการเกษตร การ
เปิดตลาดสินค้าที่มิใช่เกษตร การปฏิบัติตามพันธกรณี การลงทุนนโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการ
จัดซื้อโดยรัฐ การอ านวยความสะดวกทางการค้า จัดตั้งกลุ่มท างานเรื่องการค้าและแรงงาน
วันที่ 25 มกราคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อตกลงความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่าง
กระทรวงเกษตรและพัฒนาภูมิภาคแห่งสาธารณรัฐฮังการี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ราชอาณาจักรไทย
(โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศในด้านการเกษตร
ด้านการศึกษาและฝึกอบรม โดยการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในด้านการพัฒนาการเกษตรและการค้า รวมทั้ง
การศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลง
นามในข้อตกลงฯ ในนามรัฐบาลไทย ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของ
กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ (เกี่ยวกับการแก้ไขข้อความในร่างข้อตกลงฯ ฉบับภาษาไทย
และการท าข้อตกลงย่อยเกี่ยวกับเรื่อง อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า โดยเฉพาะเรื่อง ข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับ