Page 91 -
P. 91
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-36
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาแนวทางในการ
แก้ไขปัญหาของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ าตาลทราย และรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการก าหนด
ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2541/ 42 กับเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ าตาลทราย
ฉบับที่ .. พ.ศ. 2542 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดท าประมาณการรายได้ฯ และการก าหนด
ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 รวมทั้งเห็นชอบในหลักการให้กองทุนอ้อยและน้ าตาลทรายท าการ
กู้ยืมเงินเพื่อน าไปปล่อยกู้ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 ให้กับ
ชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการอ้อยและน้ าตาลทรายพิจารณาก าหนดต้นทุนการผลิตอ้อยฤดู
การผลิตปี 2542/43 ให้ชัดเจน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาวงเงินและอัตราต่อตันในการให้กู้ยืมเงินแก่
กองทุนอ้อยและน้ าตาลทราย เพื่อน าไปปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
เสนอ และให้ด าเนินการต่อไปได้
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพืช พ.ศ. 2542
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 118ก
วันที่ 7 ธันวาคม 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรโดย
ให้จัดสรรเงินยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จ านวน 940.69 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริม
สหกรณ์เพื่อด าเนินการตามโครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์
ปีการผลิต 2542/2543 ก าหนดช าระคืนภายในวันที่ 30 กันยายน 2543 โดยให้น าเงินยืมจ านวนดังกล่าวไป
รับซื้อข้าวเปลือกเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับราคาข้าวเปลือกเท่านั้น และจัดสรรเงินยืม
โดยไม่มีดอกเบี้ยจากกองทุนฯ จ านวน 100 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อด าเนินการตามโครงการ
เก็บข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตรกร ปีการผลิต 2542/2543 ก าหนดช าระคืนภายในเดือนกันยายน 2543
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
วันที่ 7 ธันวาคม 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการกรอบแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การ
พัฒนายางพาราครบวงจร (พ.ศ. 2542-2546) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ด าเนินการต่อไปได้ โดยให้
กระทรวงเกษตรฯ รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลังกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และส านักงบประมาณไป
พิจารณาด าเนินการด้วย โดยคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยางพารามีอยู่หลาย
คณะ การจัดสรรงบประมาณจึงต้องกระจายไปตามคณะกรรมการต่างๆ การด าเนินงานขาดเอกภาพ กระทรวงเกษตรฯ
ควรพิจารณาทบทวนเพื่อให้การด าเนินงานในการแก้ไขปัญหายางพารามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความชัดเจน โดยอาจ
ศึกษาแนวทางจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงต่อไป
วันที่ 14 ธันวาคม 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการรณรงค์เพื่อการผลิต
สินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยต่อการบริโภค ปี 2543 - 2545 และอนุมัติให้
ด าเนินการต่อไปได้ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ส าหรับงบประมาณด าเนินการใน
ปีงบประมาณ 2543 ให้พิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณของกระทรวงเกษตรฯ และให้ส านักงบประมาณ