Page 89 -
P. 89
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-34
วันที่ 19 ตุลาคม 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการแก้ปัญหายางพาราของประเทศ นั้น เพื่อ
ความรอบคอบและสามารถปฏิบัติได้มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปพิจารณาร่วมกับ
กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ
สิ่งแวดล้อม ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส านักงาน ก.พ. และส านัก
งบประมาณ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งภายใน 1 เดือน
วันที่ 28 ตุลาคม 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 105ก
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้เงินยืมปลอด
ดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ในวงเงินเดิม จ านวน 400 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้
แล้วไปจ่ายหนี้ค่าน้ านมดิบและเบี้ยปรับที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยค้างช าระสหกรณ์
และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตั้งแต่งวดวันที่ 1 กันยายน 2542 เป็นต้นมา และเห็นชอบให้ขยายเวลาการช าระ
คืนเงินยืมให้แก่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นสิ้นสุดในวันที่
24 กุมภาพันธ์ 2544 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบาย
เศรษฐกิจ (คศก.) คือ รับทราบรายงานสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาราคามันส าปะหลังตกต่ า ตามที่
ปลัดกระทรวงพาณิชย์รายงาน และตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายไพฑูรย์ แก้วทอง)
ชี้แจงเพิ่มเติม (เกี่ยวกับมาตรการแทรกแซงราคามันส าปะหลัง) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
และข้อสังเกต (เกี่ยวกับการสนับสนุนให้ภาคเอกชนน าผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปและการน า
ผลงานวิจัยต่างๆ มาสนับสนุนการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยให้
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมน าผลการวิจัยดังกล่าวซึ่งยังมีปัญหาในเรื่องต้นทุนสูงไป
พิจารณาศึกษาให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งการสนับสนุนผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน
การน ามันส าปะหลังมาผลิตเป็นภาชนะใส่อาหารที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งกับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไป
เร่งรัดด าเนินการลดพื้นที่ปลูกพืชบางชนิด เช่น มันส าปะหลัง ยางพารา ปาล์ม ให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
และให้กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจถึงแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาราคามันส าปะหลังใน
เรื่องเงื่อนไขของระยะเวลาด าเนินการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส าหรับการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการมัน
ส าปะหลังเพื่อให้เกษตรกรสามารถขายมันส าปะหลังได้ในราคากิโลกรัมละ 85 สตางค์ นั้น ควรมีมาตรการ
หรือกลไกควบคุมก ากับดูแลเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการค้าอาหาร
สัตว์ยินดีที่จะรับซื้อมันส าปะหลังจากเกษตรกรโดยตรง หากได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้า
มันส าปะหลัง และในกรณีที่จะมีการใช้มาตรการประกันราคาสินค้าเกษตรในการแก้ไขปัญหามันส าปะหลังควรจะมีการ
ก าหนดระดับคุณภาพของผลผลิต และให้มีตัวแทนเกษตรกรร่วมควบคุมดูแลเช่นเดียวกับการด าเนินการแก้ไขปัญหา
ยางพารา) ไปพิจารณาด าเนินการต่อไป