Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-55
ของประเทศชนิดต่างๆ โดยให้ระบุข้อมูลที่ส าคัญๆ เช่น ปริมาณผลผลิต ระยะเวลาที่ออกสู่ตลาด ปริมาณ
ความต้องการใช้ประโยชน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริมาณที่ส่งออกไปจ าหน่ายต่างประเทศ การแปร
รูป การเก็บรักษาและการระบายสินค้า เป็นต้น เสนอให้คณะรัฐมนตรีใช้เป็นหัวข้อในการพูดคุยกันในการ
ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2544 เพื่อหาแนวทาง
ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเพิ่มราคาผลผลิตการเกษตร ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ ส าหรับผลผลิต
การเกษตรอื่นที่มีหน่วยงานดูแลโดยเฉพาะ ให้จัดท าข้อมูลและข้อเท็จจริงตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอด้วย
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหารัฐบาลได้ใช้เงินจากกองทุนและแหล่งต่างๆ เข้าไปแทรกแซงเป็นจ านวนมาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินดังกล่าวควรรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกไตรมาสว่า ได้ใช้เงินจาก
แหล่งใดไปในผลผลิตการเกษตรชนิดใด เป็นจ านวนเท่าใด และราคาผลผลิตการเกษตร ณ วันที่เข้าไป
แทรกแซงและวันที่ท ารายงานมีการเปลี่ยนแปลง
วันที่ 14 สิงหาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลความ
คืบหน้าของการด าเนินโครงการพักช าระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล
ผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีจ านวน
เกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จ านวน 2,254,792 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.20 ของจ านวน
เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จ านวน 2,368,412 ราย จ าแนกเป็น เกษตรกรที่สมัครใจขอพักช าระหนี้ จ านวน
1,155,360 ราย และเกษตรกรที่สมัครใจขอลดภาระหนี้ จ านวน 1,099,432 ราย ส าหรับเกษตรกรที่ยังไม่
เข้าร่วมโครงการฯ จ านวน 113,620 ราย เนื่องจากไปรับจ้างท างานต่างจังหวัดและไปรับจ้างท างาน
ต่างประเทศ นั้น กลุ่มเกษตรกรดังกล่าว ธ.ก.ส. ได้รับรองและมีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จ านวน
83,666 ราย หรือร้อยละ 73.64 ของเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ โดย ธ.ก.ส. จะด าเนินการแจ้งและ
ติดตามให้เกษตรกรดังกล่าวหรือทายาทลงลายมือชื่อยืนยันการใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ ต่อไปโดยเร็ว
วันที่ 4 กันยายน 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ า โดย
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมหารือร่วมกันเพื่อก าหนดยุทธศาสตร์ในการ
แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดให้ครบวงจร เช่น คุณภาพ การรับซื้อ การขนส่ง การแปรรูป การ
กระจายสินค้า การปลอมปน การส่งออก แล้วให้รายงานคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ๆ ละ 1 ชนิด ทั้งนี้ ให้
รายงานสินค้าเกษตรที่จ าเป็นต้องเร่งรีบในการแก้ไขปัญหาหรือสินค้าเกษตรที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
โดยง่ายก่อน นอกจากนี้ ให้ทบวงมหาวิทยาลัยประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อมอบหมายให้แต่ละ
มหาวิทยาลัยพิจารณาก าหนดยุทธศาสตร์ในทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยหนึ่งให้
รับผิดชอบดูแลสินค้าเกษตร 1 ชนิด เพื่อเป็นการเสริมทางวิชาการในการแก้ไขปัญหา และให้ส านัก
งบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนด าเนินการด้วย นอกจากนี้ ควรน างานวิจัยเกี่ยวกับการ
แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาประกอบในการพิจารณาแก้ไข
ปัญหาด้วย ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ