Page 109 -
P. 109
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-54
วันที่ 5 มิถุนายน 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี
2544 และเงื่อนไข ในการช าระคืนเงินค่าปุ๋ยเคมี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้องค์กรเกษตรกรเป็น
ผู้จัดหาเงินยืม และให้เกษตรกรกู้เงินเพื่อจัดซื้อปุ๋ยตามวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เสนอเพิ่มเติม
รวมทั้งให้เปลี่ยนชื่อโครงการ จากเดิม เป็น "โครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี
2544" โดยให้ครอบคลุมถึงการจัดหาปุ๋ยทุกชนิด และเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดซื้อปุ๋ย ให้กระทรวงเกษตรฯ
ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนให้เกษตรกรใช้แม่ปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอีกทาง
หนึ่ง ตลอดจนแนะน าให้สามารถผสมปุ๋ยทุกสูตร ทุกอัตราที่ต้องการใช้แต่ละครั้งกับพืชทุกชนิดในดินแต่ละภาคของ
ประเทศ นอกจากนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) รับไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรถูกหลอกลวงเรื่องปุ๋ยจากสื่อต่างๆ โดยให้บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จ ากัด (มหาชน) เข้ามามี
บทบาทด้วย และให้พิจารณาว่าสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือออกกฎหมายเพื่อก าหนดโทษให้สูงขึ้น
วันที่ 26 มิถุนายน 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่ส านักนายกรัฐมนตรี (ส านักงานปลัดส านัก
นายกรัฐมนตรี) รายงานผลการด าเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในการแก้ไข
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน งวดแรก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
โดยได้อนุมัติเงินให้แก่เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจากเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน กองทุน
หมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน และจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้
ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน รวมทั้งสิ้น 14,971 ราย จ านวนเงินที่อนุมัติ 1,863,060,993.22 บาท และจ านวนที่ดินที่
ช่วยเหลือเนื้อที่ 158,158-2-91.6 ไร่ โดยในเดือนมีนาคม 2544 ทั้ง 3 กองทุน มียอดหนี้คงค้างและถึงก าหนดช าระ
จ านวน 327,161,000 บาท ได้รับช าระหนี้คืนจ านวน 64,305,000 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ า เนื่องจากแนวทาง
ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ที่ผ่านมาไม่เข้มงวด โดยเฉพาะเรื่องความสามารถในการช าระหนี้ ส าหรับ
สถานะการเงินของเงินทุน/กองทุนหมุนเวียนฯ มียอดเงินคงเหลือ 434,592,685.58 บาท แต่มีเกษตรกร
และผู้ยากจนได้ยื่นค าขอกู้ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
วันที่ 3 กรกฎาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การสวนยางขยายระยะเวลาการใช้
วงเงินกู้ของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 3 4 5 และ 6 จ านวน 7 วงเงิน เป็นเงิน 13,800 ล้าน
บาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 โดยกระทรวงการคลังค้ าประกัน และให้องค์การสวนยางน าเงิน
วงเงินกู้ส่วนที่เหลือของวงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท งวดที่ 1 ใช้เป็นค่าด าเนินการ
โครงการฯ และช าระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น หลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2544 โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มเติม ตามที่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ด าเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ จัดท าบัญชีงบดุล
(balance sheet) ของโครงการและข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของเงินที่ใช้ในโครงการดังกล่าว จ านวนยางใน
สต็อกที่เหลืออยู่ มูลค่ายางในสต็อก จ านวนหนี้ของโครงการทั้งหมด จ านวนหนี้ที่เหลือภายหลังจากหัก
มูลค่ายางในสต็อกแล้ว เสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
วันที่ 3 กรกฎาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง
พาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันจัดท าปฏิทินผลผลิตการเกษตรของพืชเกษตรที่เป็นสินค้าส าคัญ