Page 106 -
P. 106
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-51
ก าลังงบประมาณเป็นปีๆ ไป และ ให้รับความเห็นของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (เกี่ยวกับการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก าหนดแนวทางในการเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงใน
อาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการช าระหนี้ในระยะต่อๆ ไปได้) ไปด าเนินการด้วย
วันที่ 16 มกราคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยเห็นชอบข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างส านักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป
ประจ าประเทศไทย และส านักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ เมืองไทเป
วันที่ 23 มกราคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการ
เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรเกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบัน
เกษตรกร ซึ่งมีมติอนุมัติในหลักการในเรื่องการขอเพิ่มเติมพื้นที่ด าเนินการภายใต้โครงการย่อยการ
พัฒนาการผลิตและการตลาดข้าว/พืชไร่ รวมทั้งโครงการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ตามที่กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์เสนอ และให้ด าเนินการต่อไปได้ ส่วนมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ ซึ่งอนุมัติใน
หลักการโครงการจัดรูปที่ดินปี พ.ศ. 2544 พื้นที่ 35,355 ไร่ วงเงิน 217.68 ล้านบาท นั้น
ให้กระทรวงเกษตรฯ ด าเนินการจัดท าประเมินผลการด าเนินการโครงการดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยให้คณะ
กรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้ฯ มีอ านาจพิจารณาเห็นชอบการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด าเนินการของ
โครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้ ให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบด้วย
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 พันต ารวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายรัฐบาล
คณะที่ 54 โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในข้อ 1 นโยบายเร่งด่วน ดังนี้
“ข้อ 1. นโยบายเร่งด่วน ดังนี้
(1) พักช้าระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของ
เกษตรกร อย่างเร่งด่วน โดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร
ข้อ 3. นโยบายการสร้างรายได้
3.1 ด้านการเกษตรกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
(1) ปรับโครงสร้างสินเชื่อ และเงินทุนภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวงจร
การผลิตเร่งรัดการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร และพักช้าระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี แก่เกษตรกรรายย่อย
(2 ส่งเสริมการท้าเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือก
และเกษตรอินทรีย์รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
(3) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินท้ากินอย่างพอเพียง โดยการวาง
แผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง
พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าในทุกระดับให้เหมาะสมต่อระบบการผลิต และ
สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนา
พื้นที่ต้นน้้าและลุ่มน้้า แหล่งกักเก็บน้้า คูคลองส่งน้้า คุณภาพน้้า และชลประทานระบบท่อ รวมทั้ง