Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72
4.2.4 กระบวนการในการตัดสินใจยอมรับการปลูกพริกระบบปลอดภัย
จากการศึกษาถึงกระบวนการในการตัดสินใจยอมรับการปลูกพริกในระบบปลอดภัย โดยศึกษาจาก
ปัญหาที่เกิดขึ้น สถานะของบุคคล/ระบบสังคม ระดับความรู้ในการผลิตพริกปลอดภัย ความสําคัญ(การ
ชักชวน/จูงใจ) ในการผลิตพริกปลอดภัย ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัญหา
จากการปลูกพริกแบบทั่วไป พบว่าปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรค-แมลงและ
ยังไม่มีวิธีในการป้ องกันกําจัดที่เหมาะสม และราคาผลผลิตพริกที่ตกตํ่าไม่เป็นที่พอใจ ไม่คุ้มทุน ( x= 3.64
และ 3.62) ส่วนปัญหาที่เกษตรกรต้องใช้เงินลงทุนสูงในการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ ย สารเคมี ดินมีสภาพ
ไม่เหมาะสม (ดินเสื่อม) ในการปลูกพริก และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ยังไม่ใช่
ปัญหาที่สําคัญมากนัก ( x= 3.38, 2.80 และ 2.70 ตามลําดับ) ดังนั้นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรยอมรับการปลูกพริก
ระบบปลอดภัยนั้น จะต้องสามารถแก้ปัญหาเรื่องโรคและแมลง และราคาผลผลิตที่ตกตํ่าให้ได้ก่อน
2) สถานะของบุคคล/ระบบสังคม
ระบบสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกพริก แม้ว่าหมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรจะให้ความสําคัญต่อการปลูก
พริกซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ และเกษตรกรมองว่าตนเองเป็นคนที่มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้/
เทคโนโลยีการผลิตพริกมาพัฒนาตนเองเสมอ ตลอดจนเกษตรกรมีการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อ
ปัญหาต่างๆในการปลูกพริก เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทุกโอกาส และหมู่บ้าน/ตําบลของ
เกษตรกรให้ความสําคัญต่อการปลูกพริก อยู่ในระดับมาก ( x= 3.83, 3.62 และ 3.52 ตามลําดับ) แต่คนใน
หมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาการปลูกพริกในหมู่บ้าน/ตําบล หรือมีกลุ่ม
ผู้ผลิตพริกปลอดภัยอยู่น้อย ( x= 2.30) ชี้ให้เห็นว่าระบบสังคมหมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรยังขาดการ
รวมกลุ่มผู้ปลูกพริกเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา และสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มซึ่งสะท้อนจากคําให้สัมภาษณ์ของ
เกษตรกรที่ว่า “เกษตรกรต่างคนต่างทํา”
3) ความรู้ในการผลิตพริกระบบปลอดภัย
เกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไปมีการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการให้ความรู้ในการผลิตพริกปลอดภัย
ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จในการผลิตพริกปลอดภัย และสอบถามข้อมูล
เพิ่มเติมจากแหล่งวิชาการอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( x= 1.44, 1.43 และ 1.41 ตามลําดับ) เนื่องจากขาดการเข้าหา
ช่องทางที่จะได้รับความรู้ในการผลิตพริกระบบปลอดภัยของเกษตรกร เกษตรกรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทํา
กิจกรรมทางการเกษตร ไม่ได้แบ่งเวลาในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในการประกอบอาชีพ
4) ความสําคัญของการผลิตพริกปลอดภัย
เกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป มีความคิดเห็นต่อความสําคัญของการผลิตพริกระบบปลอดภัยว่ามี
ความปลอดภัยต่อร่างกายตนเอง มีความปลอดภัยของผลผลิตต่อผู้บริโภค และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม (ดิน