Page 90 -
P. 90

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             69



             ตารางที่ 4-12  เหตุผลในการยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย (GAP)

                                                                                                   n = 64
                                             เหตุผล                                         ลําดับ

             ปลอดภัยต่อตนเองและผู้บริโภค                                                      1

             ราคาผลผลิตที่สูงกว่า                                                             2

             ต้นทุนการผลิตถูกกว่าเพราะลดการใช้สารเคมี                                         3
             มีตลาดรับซื้อแน่นอนและ/หรือมีการประกันราคาขั้นตํ่าจากบริษัท                      4

             ความรู้ความเข้าใจในการผลิตพริกระบบปลอดภัย (GAP)                                  5

             นโยบายของรัฐ                                                                     6

              แม้ว่าเกษตรกรกลุ่ม     GAP จะยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย และได้รับใบรับรอง (Q) แล้วก็ตาม

             แต่จากผลการวิจัยนี้พบว่า เมื่อเทียบเคียงระดับการปฏิบัติของเกษตรกรกับระดับมาตรฐานต่างๆ ที่กําหนด

             เช่น มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร (Q GAP) หรือ Thai GAP (เทียบเคียงกับ Global G.A.P) แล้วเกษตรกร
             ส่วนใหญ่ยังปฏิบัติไม่ได้ตามมาตรฐานที่กําหนด มีเพียงมาตรฐานบางข้อในบางหมวดเท่านั้นที่เกษตรกรส่วน

             ใหญ่ (มากกว่า ร้อยละ 80) มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้แล้ว ได้แก่ มีการคํานวณอัตราการฉีด

             พ่นสารเคมีและวิธีการเตรียมตามคําแนะนําบนฉลากสารเคมี (ร้อยละ  96.8) เกษตรกรเข้าใจถึงผลจากการใช้
             สารเคมีในการปลูกพริกต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 95.2) มีการวางแผนการผลิตโดยคํานึงถึงสภาพแวดล้อม

             (ร้อยละ 93.5) มีนํ้าเพียงพอสําหรับการปลูกพริกตลอดปี (ร้อยละ 93.5) นํ้าที่ใช้ในแปลงผลิตเป็นนํ้าที่มี

             คุณภาพ (ร้อยละ 88.7) มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรคและแมลง (ร้อยละ 87.1) มีการเว้นระยะก่อน

             เก็บเกี่ยว/เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง (ร้อยละ 82.3) ภาชนะ/สถานที่เก็บผลผลิตมี
             ความปลอดภัยจากการปนเปื้อน (ร้อยละ  90.3) และมีการเก็บสารเคมีไว้ในที่ปลอดภัย (ร้อยละ 80.6) แม้ว่า

             เกษตรกรจะมีการกําจัดทิ้งหรือทําลายภาชนะบรรจุสารเคมีสูง (ร้อยละ  98.4) แต่วิธีการจํากัดโดยการขายเป็น

             วิธีที่ไม่ถูกต้อง (ตารางที่ 4-13)

             ตารางที่ 4-13 ระดับการปฏิบัติในการปลูกพริกของเกษตรกรกลุ่ม GAP

                                                                                                   n = 64

                                                                           มี      ไม่มี      หมายเหตุ
                                      รายการ
                                                                        (ร้อยละ)   (ร้อยละ)
             1. การทวนสอบ

                1.1 มีการกําหนดรหัสแปลงปลูกและ มีป้ ายบอกแปลงปลูก         1.6      98.4
                1.2 มีการบันทึกการปฏิบัติงานของแต่ละแปลงทุกขั้นตอน        19.4     80.7

             2. การจดบันทึก
                2.1 มีการบันทึกด้วยตนเอง/กลุ่ม                            21       79.0
                2.2 มีการเก็บรักษาบันทึกต่างๆ ไว้อย่างน้อย 2 ปี           12.9     87.1
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95