Page 75 -
P. 75

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                           68
                                  สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                          บทที่ 7 ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค

                                 ในเมื่อเสียงวรรณยุกตจัดเปนอัตภาค โดยเปนลําดับอนุภาค (sequence of segment)  ในชั้นสวน
                           ของเสียงวรรณยุกต คําวา “suprasegment”  ในความหมายเดิม (ซึ่งแสดงความแตกตางระหวางเสียง

                           วรรณยุกตกับ “segment”) จึงไมมีอีกตอไป (Goldsmith 1976:28)

                                 ในทฤษฎีนี้ อนุภาค (segment) คือหนวยเสียงยอยในระดับต่ําสุด ซึ่งเชื่อมโยงกันในชั้นสวนตางๆ
                          เพื่ออธิบายเสียงหนึ่งหนวยเสียง (phoneme)  ในลักษณะนี้ ทฤษฎีอัตภาคจึงจัดเปนสัทวิทยาเชิงซอน
                          (multilinear หรือ nonlinear phonology) คือเปนเครือขายเชื่อมโยงระหวางชั้นสวนสัทลักษณตางๆ

                          แตกตางกับสัทวิทยาเชิงเสน (linear phonology) ซึ่งจัดสัทลักษณตางๆ เปนหนึ่งหนวยใหญสําหรับ
                           หนวยเสียง (phoneme)  แตละหนวยเสียง (phoneme) และจัดลําดับหนวยเสียง (phoneme)  เปนลําดับใน
                           เชิงเสน (linear sequence)


                                 เราพอจะสรุปจุดเดนของทฤษฎีนี้ที่ไดกาวล้ําหนาสัทวิทยาเพิ่มพูน (Generative Phonology)
                           (จาก Goldsimth 1990:2-3) ดังนี้:

                                 ก.  แสดงความสัมพันธระหวางเสียงที่เปนนามธรรม (phonology) และเสียงที่เปนรูปธรรม
                                     (phonetics) ไดชัดเจนกวา
                                 ข.  ลดความเปนนามธรรม (abstractness) ของเสียงในระดับลึก (underlying representation)

                                 ค.  ตัดความยุงยากของการจัดลําดับกฎการแปรเสียงซึ่งเปนกฎเฉพาะของภาษา (language
                                     specific rule-ordering)

                                     นอกจากนี้ ทฤษฎีอัตภาคยังเชื่อมความสัมพันธอยางใกลชิดระหวาง การวิเคราะหระบบเสียง
                          (phonological analysis) กับ สรีรสัทศาสตร (speech production) โสตสัทศาสตร (perception) และการรับ
                          ภาษา (language acquisition) รวมทั้งระบบวากยสัมพันธ (syntax) และระบบคํา (morphology) โดยมอง

                          ความสัมพันธตางๆ เหลานี้ทั้งในแงมุมปจจุบันและในแงมุมของการพัฒนาภาษา เชิงประวัติ

                                     ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาคจึงเปนทฤษฎีที่เปดศักราชใหมสําหรับสัทวิทยา และจัดเปนทฤษฎี
                          หนึ่งที่บุกเบิกยุคหลังเอสพีอี (SPE)

                           7.3  ความสัมพันธกับทฤษฎีสัทวิทยาอื่นๆ ยุคหลังเอสพีอี  (SPE)
                                 ทฤษฎีสัทวิทยาที่พัฒนาจากเอสพีอี (SPE)   พรอมๆ กันกับทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค และมี

                           ความสัมพันธกันอยางใกลชิดกับทฤษฎีอัตภาค มีดังนี้:
                                 ทฤษฎีสัทวิทยาระบบโครงสรางการเนนพยางค (Metrical Phonology)
                                 ทฤษฎีพจนสัทวิทยา (Lexical Phonology)

                                 ทฤษฎีเครือขายเชื่อมโยงสัทลักษณ (Geometry of Phonological Representation)
                                 ทฤษฎีเสียงระดับลึก (Underspecification Theory)
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80