Page 72 -
P. 72

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                                  สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                          บทที่ 7 ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค  65


                                                               บทที่ 7
                                                         ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค


                           7.1 แกนพยัญชนะ-สระ  (CV-tier)

                                 นักสัทวิทยาเพิ่มพูนพบวา ทฤษฎีสัทวิทยาเพิ่มพูนในระบบเชิงเสน (linear systems of generative
                          phonology) คือแนววิเคราะหเสียงโดยการเขียนกฎทางเสียงในลักษณะเชิงเสนแบบเอสพีอี (SPE)  นั้น
                           ไมเพียงพอสําหรับการอธิบายพฤติกรรมตางๆอีกมากมายในภาษาเชนในเรื่องโครงสรางภายใน

                           ของ  พยางค (internal structure of the syllable)  (Kahn  1976) ระบบการเนนพยางค (meterial structure)
                           ซึ่งมีโครงสรางซับซอนประกอบดวยพยางค กลุมพยางคและหนวยเสียงระดับตางๆที่มีคาน้ําหนัก
                           หนัก/เบา (heavy/light)  หรือเนน/ไมเนน (stress/unstress) ในหลายระดับชั้น (Liberman 1975, Liberman

                           and Prince,  1977)  รวมทั้งเรื่องหนวยคํา การสรางคํา การประสมประสานคํา (McCarthy  1979, 1981,
                           Keparsky 1979)   เรื่องเสียงวรรณยุกต (Goldsmith  1976, Laben  1980) ตลอดจนเรื่องทํานองเสียง ซึ่งมี

                          สัทสัมพันธกับหนวยเสียงในระดับคํา วลีและประโยค (Selkirk, 1978) ฯลฯ

                                 เซลเคริก (Selkirk,  1978) และ แฮลีและเวิรกนอด (Halle and Vergnaud, 1980) ไดเสนอวา

                          มีระดับชั้นยอยภายในพยางคที่มีหนวยเสียงพยัญชนะ (C)  และหนวยเสียงสระ (V)  เปนสวนประกอบ
                           ระดับชั้นพยัญชนะ-สระ หรือแกนพยัญชนะ-สระ ประกอบดวยหนวยเสียงพยัญชนะและสระที่ประกอบ
                           กันเปนหนวยพยางค ทําหนาที่เปนสวนตน (onset) หรือสวนทาย (coda) พยางคหรือแกนพยางค (nucleus)

                          หนวยพยัญชนะ (C)และหนวยสระ (V)  บนแกนพยัญชนะ-สระนี้ กําหนดตําแหนงหนาที่ของหนวยเสียง
                          แตละหนวยในพยางค (Clements and Keyser 1985: 1-23)


                                 การวิเคราะหเสียงโดยแกนพยัญชนะ-สระและเปนฐานสําคัญซึ่งนําไปสูทฤษฎีการวิเคราะหเสียง
                          เชิงซอนใหมๆ อีกหลายทฤษฎี เชน ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค ( Autosegmental phonology ) ทฤษฎีสัทวิทยา

                           ระบบโครงสรางการเนนพยางค ( Metrical phonology ) เปนตน

                                                                                                 1
                           7.2 ประวัติและแนวความคิดพื้นฐานของทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค  (Autosegmental Phonology)

                                 ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาคพัฒนาตอเนื่องมาจากหนังสือ เอสพีอี (Sound Pattern of English (SPE))

                           ของชอมสกี้ และแฮลี (Chomsky and  Halle 1968)  โดยมีฐานบนสมมติฐานและแนวคิดของ   สัทวิทยา
                           เพิ่มพูน (Generative Phonology)  ที่วา การเรียนรูภาษา คือการเรียนรูกฎเกณฑของภาษา ซึ่งทําใหผูรูภาษา
                           สามารถพูด และเขาใจประโยคตางๆ ในภาษาได โดยไมมีจํานวนจํากัด



                           1  หัวขอ 7.2 -7.5.3 จากบทความเรื่อง ทฤษฎีสัทวิทยาอัตภาค วารสารภาษาและภาษาศาสตร 12.2
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77