Page 69 -
P. 69
ิ
ื
ิ
ั
์
ุ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
66
ตารางที่ 9 พื้นที่สัมผัสของกระดูก femur ผ่าน medial meniscus ลงบน tibial plateau เมื่อ medial
meniscus ปลิ้นออกด้านนอก (lateral extrusion) 2 - 4 มิลลิเมตร และปลิ้นออกเต็มที่ (max) โดย
ื้
เปรียบเทียบกับ meniscus ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ (intact) นอกจากนี้ตารางยังแสดงการเปรียบเทียบพนที่
สัมผัสภายหลังที่เย็บซ่อมแซม meniscus (repair) กับ meniscus ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ ในขณะที่เหยียด
และงอเข่า ระหว่าง 0 – 90 องศา
ที่มา Debieux P, Jimenez AE, Novaretti JV, et al. Medial meniscal extrusion greater than 4
mm reduces medial tibiofemoral compartment contact area: a biomechanical analysis of
tibiofemoral contact area and pressures with varying amounts of meniscal extrusion. Knee
Surg Sports Traumatol Arthrosc. 2021;29(9):3124-3132. doi:10.1007/s00167-020-06363-0
สรุป การฉีกขาดของ meniscus แบบแยกออกจากกันทั้งชิ้น (100 เปอร์เซ็นต์) หรือการที่
meniscus ปลิ้นหลุดออกจากตำแหน่งเดิมมากกว่า 4 มิลลิเมตร จะทำให้พื้นที่สัมผัสระหว่างกระดูกลดลง
่
จึงส่งผลให้มีแรงกดบนผิวกระดูก femur และ tibia มากขึ้น และทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกออนผิวข้อเสื่อม
ตามมา ถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดซ่อมแซม meniscus แล้ว พื้นที่สัมผัสระหว่างกระดูกก็ยังไม่เท่าปกติ
นอกจากนี้เมื่อมีการงอเข่ามากขึ้น meniscus จะถูกกดและดันให้ยื่นไปทางด้านหลังของข้อเข่ามากขึ้น ทำ
ให้พื้นที่สัมผัสระหว่างกระดูกน้อยลง จึงส่งผลให้มีความดันบนผิวกระดูกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงควร
หลีกเลี่ยงท่าทาง หรือ กิจกรรมที่มีมุมของการงอเข่ามาก เพื่อลดแรงกดบนกระดูกอ่อนผิวข้อ
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล